เลขที่หนังสือ | : กค 0811(กม.01)/345 |
วันที่ | : 4 เมษายน 2545 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล การส่งมอบหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 373) พ.ศ.2543 |
ข้อกฎหมาย | : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 |
ข้อหารือ | : 1. การส่งมอบหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของ สถาบันการเงินจะใช้ฉบับที่เป็นสำเนาได้หรือไม่ เพราะตามคำอธิบายการจัดทำและ กรอกรายการ แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวกำหนดให้การจัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีรายการ ข้อความตรงกัน และลงลายมือชื่อจริงอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อแจ้ง ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน 1 ฉบับ และแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร 1 ฉบับ หากลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของ ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ส่งมอบฉบับที่เป็นสำเนาจะถือว่าลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตาม ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ไว้แล้วหรือไม่ มีผลทำให้ลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้ รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 373) พ.ศ.2543 หรือไม่ และต้องประเมิน เรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มเติมหากลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว 2. เนื่องจากตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2543 มิได้ กำหนดเวลาการส่งมอบหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ต่ออธิบดีกรมสรรพากรไว้ หาก เจ้าหน้าที่ ตรวจพบว่าลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของสถาบันการเงินมิได้ส่งมอบหนังสือรับรองการโอน อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แล้วต่อมาลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้นำมา ส่งมอบให้ใน ภายหลังจะถือว่าลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ไว้แล้วใช่หรือไม่ ถ้าไม่ใช่ลูกหนี้/ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ของสถาบันการเงินจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ ยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 และต้องทำการประเมินเรียกเก็บ ภาษีอากรเพิ่มเติมใช่หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตาม 1. หนังสือรับรองฯ การโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้แก่ ผู้อื่น ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามข้อ 1(2) ของ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ต้องเป็นต้นฉบับหรือคู่ฉบับที่ลงชื่อจริงที่ ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น 2. กรณีตาม 2. การแจ้งหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ให้แก่ผู้อื่นที่ต้องแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามข้อ 1(2) ของประกาศอธิบดี กรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2543 หากลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินและผู้รับโอน อสังหาริมทรัพย์ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น และมีการแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านสรรพากรพื้นที่ สรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) แล้ว แม้จะแจ้งภายหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบ ก็ ย่อมได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 |
เลขตู้ | : 65/31358 |