เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม.06)/331
วันที่: 21 มีนาคม 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 86 วรรคสี่, มาตรา 86/2
ข้อหารือ: สมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯ หารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคืน
ภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ในประเด็นที่ตัวแทนของผู้ประกอบการจดทะเบียน
ที่อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ตาม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 5) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขการออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทนในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่
และมาตรา 86/2 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534 ซึ่งสมาคมฯ มีความเห็นว่า
ตัวแทนเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ออกใบกำกับภาษีแทนผู้ประกอบการ
ที่อยู่นอกราชอาณาจักรแล้ว ยังมีหน้าที่ต้องชำระภาษียื่นรายการภาษีต่าง ๆ รวมทั้งรับคืนเงิน
ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการด้วย ฉะนั้น เมื่อผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรได้รับอนุมัติให้
คืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมอบอำนาจให้ตัวแทนดังกล่าวรับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการ
เฉพาะอีก
แนววินิจฉัย: กรณีสัญญาตั้งตัวแทนที่ สม. ส่งมาประกอบการพิจารณานั้น ไม่มีข้อตกลงให้ตัวแทนออกใบกำกับ
ภาษีในนามของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และไม่มีข้อตกลงให้ตัวแทนรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืน
ด้วย ดังนั้น ตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอก ราชอาณาจักร จะรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืนได้ ก็ต่อเมื่อมี
สัญญาแต่งตั้งให้ตัวแทนมีอำนาจเต็มเยี่ยงตัวการตัวแทนพึงปฏิบัติโดยทั่วไป หากตัวการเพียงแต่มอบอำนาจ
เป็นการเฉพาะตามสัญญาเท่านั้น ตัวการจะต้องมอบอำนาจให้ตัวแทนรับเงินภาษีมูลค่าเพิ่มคืน เป็นการ
เฉพาะด้วย ตามนัยมาตรา 800 และมาตรา 801 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากนี้ กรณี
ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนออกใบกำกับภาษีในนามของตน เป็นไปตาม
มาตรา 86 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตาม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 5)ฯ ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534
ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการแต่งตั้งให้ตัวแทนรับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม
เลขตู้: 65/31329

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020