เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม.06)/พ./185
วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีอายุความการขอคืนเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อกฎหมาย: มาตรา 84/1, มาตรา 27 ตรี, มาตรา 193/9 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อหารือ: กรณีอายุความการขอคืนเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ราย บริษัท อ. จำกัด สรุปข้อ เท็จจริงได้
ดังนี้
1. บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้อง ค.10 ขอคืนเงินเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีมกราคม-
ตุลาคม 2535 (ฉบับยื่นเพิ่มเติม) เนื่องจากได้รับอนุมัติให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามรายละเอียด
ดังนี้
ยื่นแบบ ภ.พ.30 เบี้ยปรับที่ วัน เดือน ปี
เพิ่มเติม ชำระไว้
หนังสือกรมฯ หนังสือจังหวัดฯ ยื่นคำร้อง
เดือนภาษี ครั้งที่ หน่วย:บาท ที่ชำระ แจ้งจังหวัดฯ แจ้งผู้ขอคืน ค.10
งดเบี้ยปรับ งดเบี้ยปรับ
ม.ค.35 2 12,872.00 15 ต.ค. 39 13 ส.ค. 40 25 ส.ค. 40 10 ก.ค. 43
ก.พ.35 1 6,120.31 15 ต.ค. 39 13 ส.ค. 40 25 ส.ค. 40 10 ก.ค. 43
มี.ค.35 1 15,367.85 15 ต.ค. 39 13 ส.ค. 40 25 ส.ค. 40 10 ก.ค. 43
เม.ย.35 1 6,033.69 15 พ.ย. 39 13 ส.ค. 40 25 ส.ค. 40 10 ก.ค. 43
พ.ค.35 1 9,025.94 15 พ.ย. 39 13 ส.ค. 40 25 ส.ค. 40 10 ก.ค. 43
มิ.ย.35 2 5,297.32 15 พ.ย. 39 13 ส.ค. 40 25 ส.ค. 40 10 ก.ค. 43
ก.ค.35 1 13,584.65 14 ก.พ. 40 6 พ.ย. 40 18 พ.ย. 40 10 ก.ค. 43
ส.ค.35 1 20,394.97 14 มี.ค. 40 6 พ.ย. 40 18 พ.ย. 40 10 ก.ค. 43
ก.ย.35 ไม่ได้ระบุ 24,410.28 15 เม.ย. 40 6 พ.ย. 40 18 พ.ย. 40 10 ก.ค. 43
ต.ค.35 2 19,223.59 15 พ.ค. 40 6 พ.ย. 40 18 พ.ย. 40 10 ก.ค. 43
รวม 132,330.60
2. สำนักงานสรรพากรจังหวัดหารือว่า สิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากรของบริษัทฯ จะเกิดขึ้น
เมื่อใด เนื่องจากบริษัทฯ ยื่นคำร้อง ค.10 ขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่า 3 ปี นับแต่วันที่พ้น
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น หรือนับแต่วันที่ได้รับชำระภาษี (ตาม
ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539 ประกอบกับมาตรา 27 ตรี (1)
และมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร) แต่จากข้อเท็จจริง การขอคืนเงินภาษีนี้เกิดจากกรมสรรพากร
อนุมัติงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มให้ ซึ่งขณะยื่นแบบแสดงรายการ บริษัทฯ ยังไม่ทราบว่าจะได้รับเงินภาษี
คืนหรือไม่ และจังหวัดมีความเห็นว่า สิทธิในการขอคืนเงินภาษีควรเกิดขึ้นเมื่อบริษัทฯ ได้รับทราบคำสั่ง
อนุมัติงดเบี้ยปรับ ดังนั้น ระยะเวลาในการขอคืนควรจะเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไป หาใช่ระยะเวลา
ตามบทบัญญัติและระเบียบฯ ดังกล่าว
3. บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร (ค.10) เพื่อขอคืนเบี้ยปรับภาษี มูลค่าเพิ่มซึ่ง
บริษัทฯ ได้ยื่นชำระไว้พร้อมกับการยื่นแบบเพิ่มเติมเนื่องจากแจ้งยอดซื้อไว้เกิน และต่อมากรมสรรพากร
ได้มีคำสั่งงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ดังนั้น สิทธิในการขอคืนเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อ
กรมสรรพากรมีคำสั่งอนุมัติให้งดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังกล่าว ส่วน อายุความในการขอคืนเบี้ยปรับ
ภาษีมูลค่าเพิ่มในกรณีที่กรมสรรพากรอนุมัติให้งดเบี้ยปรับนั้น มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะตามประมวลรัษฎากร
หรือตามกฎหมายอื่น บริษัทฯ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตามมาตรา 193/30
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น การที่บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้อง (แบบ ค.10) เมื่อวันที่ 10
กรกฎาคม 2543 จึงยังคงอยู่ภายในอายุความ บริษัทฯ จึงมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มคืนจาก
กรมสรรพากร
แนววินิจฉัย: (1) กรณีอายุความการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการ
ประมวลรัษฎากรได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะตามมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร แต่การขอคืนเบี้ยปรับ
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม มิใช่การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขาย
สินค้าหรือให้บริการตามมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น อายุความการขอคืนเบี้ยปรับ
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ จึงต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดอายุความตามมาตรา
27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
(2) บริษัทฯ ยื่นคำร้องขอคืนเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนมกราคม-ตุลาคม 2535 (ฉบับ
ยื่นเพิ่มเติม) ซึ่งเป็นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเพิ่มเติมที่บริษัทฯ ยื่นเกินกำหนดเวลา จึงเป็น
การขอคืนภาษีอากรในกรณีผู้มีสิทธิขอคืนได้ยื่นรายการเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้มีสิทธิขอคืนต้อง
ยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการตามมาตรา 27 ตรี (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ยื่นคำร้อง ค.10 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ขอคืนเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม
เกินกว่า 3 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินภาษี มูลค่าเพิ่มคืน เนื่องจากเป็นการใช้
สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความตามมาตรา 193/9 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เลขตู้: 65/31255


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020