เลขที่หนังสือ | : กค 0811(กม.06)/พ./149 |
วันที่ | : 29 มกราคม 2545 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการตรวจนับสินค้ารถยนต์ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 71/1(8), มาตรา 77/2(1), มาตรา 78(1)(3) |
ข้อหารือ | : 1. ในวันที่ 8 กันยายน 2541 จังหวัดได้เข้าตรวจนับสินค้า ณ สถานประกอบการของบริษัท พ.จำกัด พบรถยนต์จำนวน 34 คัน เป็นรถยนต์เก่าจำนวน 15 คัน และเป็นรถยนต์ใหม่จำนวน 19 คัน โดยขายให้กรรมการแล้วจำนวน 9 คัน แต่ยังจอดไว้ที่บริษัทฯ ดังนั้น จึงมีรถยนต์ใหม่ที่ยังไม่ได้ขายจอด ไว้ที่บริษัทฯ จำนวน 10 คัน ผู้จัดการแจ้งเพิ่มเติมอีกว่ามีรถยนต์ที่ขายใน วันที่ 3 กันยายน 2541 อีก จำนวน 1 คัน แต่เมื่อจังหวัดตรวจรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ไม่พบใบกำกับภาษีขายแต่อย่างใด บริษัทฯ ชี้แจงว่ารายงานสินค้าและวัตถุดิบดังกล่าวเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการขายรถและคุมจำนวน รถที่จอดอยู่ ณ สถานประกอบการในขณะนั้น จังหวัดจึงได้ขอตรวจรายงานสินค้าและวัตถุดิบย้อนหลังใน เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2541 2. ในวันที่ 18 กันยายน 2541 บริษัทฯ ได้นำรายงานสินค้าและวัตถุดิบมา ให้เจ้าพนักงาน ตรวจสอบเป็นรายงานที่บันทึกตามใบกำกับภาษีซื้อและแสดงจำนวนรถยนต์ใหม่ ทั้งหมดของบริษัทฯ และ จากการตรวจสอบรายงานสินค้าและวัตถุดิบดังกล่าวพบว่ามีจำนวนรถยนต์ใหม่คงเหลือ ณ วันที่ 8 กันยายน 2541 จำนวน 113 คัน โดยจอดไว้ที่บริษัทฯ จำนวน 10 คัน และอีก 103 คัน บริษัทได้นำไป จอดไว้ที่บริษัทในเครือและอู่ต่อรถยนต์และมีรถซึ่งไม่มีในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จอดอยู่ที่บริษัทฯ จำนวน 1 คัน 3. จังหวัดได้ขอความร่วมมือจากสำนักงานสรรพากรจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตรวจ นับสินค้าและวัตถุดิบตามรายละเอียดดังกล่าว พบรถยนต์จำนวน 83 คัน จอดอยู่ที่บริษัทในเครือและอู่ต่อ รถยนต์ตามที่แจ้ง ส่วนรถยนต์จำนวน 20 คันที่ตรวจนับไม่พบ บริษัทฯ ยืนยันว่ายังมิได้มีการจำหน่ายและ นำหนังสือแจ้งจำหน่ายและหลักฐานการส่งบัญชีจำหน่ายรถยนต์ มาแสดง ซึ่งเป็นของบริษัท ฮ. จำกัด จำนวน 9 คัน เป็นของบริษัท เอ็ม จำกัด จำนวน 10 คัน และเป็นของบริษัท ค.จำกัด จำนวน 1 คัน โดยชี้แจงว่าหนังสือแจ้งจำหน่ายและหลักฐานการส่งบัญชีจำหน่ายรถยนต์ดังกล่าวพิสูจน์ได้ว่ารถยนต์ยังไม่ ได้ขาย 4. จังหวัดหารือว่า 4.1 หนังสือชุดแจ้งจำหน่ายและการรับรองหลักฐานการส่งบัญชีจำหน่ายรถยนต์ซึ่งจัดทำขึ้น โดยบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองรถยนต์ได้หรือไม่ 4.2 รถยนต์ที่ตรวจนับไม่พบซึ่งบริษัทฯ อ้างว่าได้เคลื่อนย้ายไปจอดที่บริษัทในเครือซึ่งมิใช่ ตัวแทนจำหน่าย จะถือเป็นการขายและต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : กรณีตามรายงานสินค้าและวัตถุดิบที่บริษัทฯ นำมาให้เจ้าพนักงานตรวจสอบใน วันที่ 18 กันยายน 2541 ปรากฏว่ามีปริมาณรถยนต์ใหม่คงเหลือจำนวน 113 คัน แต่จัดเก็บไว้ ณ สถานประกอบการของบริษัทฯ เพียงจำนวน 10 คัน ส่วนที่เหลือจำนวน 103 คัน บริษัทฯ แจ้งว่านำไป เก็บไว้ ณ บริษัทในเครือและอู่ต่อรถยนต์ ซึ่งจังหวัดได้ขอความร่วมมือสำนักงานสรรพากรจังหวัดที่ เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตรวจนับรถยนต์ของบริษัทในเครือและอู่ต่อรถยนต์ พบว่ามีรถยนต์ของบริษัทฯ เก็บ ไว้ ณ บริษัทในเครือและอู่ต่อรถยนต์จำนวน 83 คัน อีก 20 คันนั้น บริษัทฯ แจ้งว่ายังมิได้ขาย โดยนำ หนังสือแจ้งการจำหน่ายและหลักฐานการส่งบัญชีจำหน่ายรถยนต์มาแสดง ซึ่งเป็นของบริษัท ฮ. จำนวน 9 คัน บริษัท เอ็ม. จำนวน 10 คัน และเป็นของบริษัท ค. จำนวน 1 คัน กรณีดังกล่าวแยกพิจารณาได้ ดังนี้ 1. กรณีบริษัทฯ ส่งมอบรถยนต์ให้แก่บริษัทในเครือ เข้าลักษณะเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน สินค้า ซึ่งถือเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มี หน้าที่ต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีบริษัทฯ แต่งตั้งให้บริษัทในเครือเป็นตัวแทนเพื่อขายสินค้า เมื่อบริษัทฯ ส่งมอบรถยนต์ ให้แก่บริษัทในเครือ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อความ รับผิดใน การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้อง จัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่ง ประมวลรัษฎากร เว้นแต่บริษัทฯ ทำสัญญาแต่งตั้งให้บริษัทในเครือเป็นตัวแทนเพื่อขายสินค้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ของ บริษัทฯ เกิดขึ้นเมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร 3. กรณีบริษัทฯ ส่งมอบรถยนต์ให้แก่อู่ต่อรถยนต์ หากการไต่สวนข้อเท็จจริงปรากฏว่า (1) บริษัทฯ นำรถยนต์ไปเก็บไว้ ณ อู่ต่อรถยนต์ เพื่อว่าจ้างอู่ต่อรถยนต์ต่อเติมรถยนต์ สำหรับนำไปขายต่อไป กรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่ต้องให้บริษัทฯ หมายเหตุไว้ในรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย เพื่อใช้เป็นหลักฐานใน การตรวจสอบมูลค่าขายต่อไป (2) บริษัทฯ นำรถยนต์ไปเก็บไว้ ณ อู่ต่อรถยนต์เพื่อฝากขาย เข้าลักษณะเป็นการส่งมอบ สินค้าให้ตัวแทนเพื่อขาย ซึ่งถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อความรับผิดในการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และ บริษัทฯ มีหน้าที่ต้อง จัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ตามมาตรา 86 แห่ง ประมวลรัษฎากร เว้นแต่บริษัทฯ ทำสัญญาแต่งตั้งให้อู่ต่อรถยนต์เป็นตัวแทนเพื่อขายสินค้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ เกิดขึ้น เมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร 4. กรณีรถยนต์จำนวน 20 คัน ที่ตรวจนับไม่พบ และมิได้เก็บไว้ ณ บริษัทในเครือและอู่ต่อ รถยนต์ ซึ่งบริษัทฯ แจ้งว่ามิได้ขาย โดยบริษัทฯ นำหนังสือแจ้งการจำหน่ายและ หลักฐานการส่งบัญชี จำหน่ายรถยนต์มาแสดงว่าเป็นของบริษัท ฮ. บริษัท เอ็ม และบริษัท ค. หากการไต่สวนข้อเท็จจริง ปรากฏว่า บริษัททั้งสามรายดังกล่าวมีหลักฐานสำเนาใบกำกับสินค้าของ รถยนต์ที่ขาดหายไปตรงตามที่ ระบุในหนังสือแจ้งการจำหน่ายและหลักฐานการส่งบัญชีจำหน่าย รถยนต์ของบริษัทฯ ถือว่าบริษัทฯ จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ให้แก่บริษัททั้งสามราย ซึ่งเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่ง ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มี หน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่ง ประมวลรัษฎากร เว้นแต่บริษัทฯ ทำสัญญาแต่งตั้งให้บริษัททั้งสามดังกล่าวเป็นตัวแทนเพื่อขายสินค้าตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2534 ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของ บริษัทฯ เกิดขึ้นเมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร 5. กรณีตาม 4. หากการไต่สวนข้อเท็จจริงพบว่า บริษัททั้งสามรายดังกล่าวไม่มีหลักฐานใบ กำกับสินค้าของรถยนต์ที่ขาดหายไปตามที่ระบุในหนังสือแจ้งจำหน่ายและหลักฐานการส่งบัญชีจำหน่าย รถยนต์ของบริษัทฯ ซึ่งแสดงว่าบริษัทฯ มิได้ขายรถยนต์ให้แก่บริษัททั้งสามรายแต่อย่างใด กรณีถือว่าบริษัท ฯ มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ถือเป็นการขายตามมาตรา 77/1(8)(จ) แห่ง ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เมื่อมีการตรวจพบตามมาตรา 78/3 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 8 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 189 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่ต้อง จัดทำใบกำกับภาษีแต่อย่างใด ตามข้อ 2(3) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 แต่ต้องจัดทำเอกสารประกอบการลงรายงานภาษีขาย โดยเอกสารดังกล่าวต้อง มีปริมาณและมูลค่าสินค้าเพื่อคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ ตามข้อ 7(6) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89)ฯ ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 6. หนังสือชุดแจ้งจำหน่ายและการรับรองหลักฐานการส่งบัญชีและจำหน่ายรถยนต์ที่บริษัทฯ นำ มาแสดงเป็นหลักฐานว่ายังไม่ได้ขายรถยนต์ให้แก่บริษัทผู้ซื้อ มิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือ สิทธิครอบครองรถยนต์ แต่บริษัทฯ สามารถนำเอกสารดังกล่าวมาพิสูจน์เพื่อแสดงว่ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอน ได้ เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นจะยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อจนกว่าการจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข ทั้งนี้ ตามมาตรา 458 และมาตรา 459 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ แต่เนื่องจากความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78 แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนั้น ไม่ว่าหนังสือชุดแจ้งจำหน่ายและหลักฐานการส่งบัญชีและจำหน่ายรถยนต์ของ บริษัทฯ สามารถเป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของบริษัทฯ อยู่หรือไม่นั้น หากบริษัทฯ ได้ส่งมอบรถยนต์ให้กับบริษัทผู้ซื้อแล้ว ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มย่อมเกิดขึ้นตามมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 65/31243 |