เลขที่หนังสือ | : กค 0811/พ./853 |
วันที่ | : 30 มกราคม 2545 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อและขอขยายเวลาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 81(1)(น), มาตรา 81/3(1), มาตรา 82/5(6) |
ข้อหารือ | : บริษัท จ. จำกัด ขอเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ และขอขยายระยะเวลาการขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้ 1. บริษัทฯ ประกอบกิจการขายส่ง ขายปลีก ให้บริการระบบจำหน่ายสลากอัตโนมัติ และวัสดุ อุปกรณ์เกี่ยวกับงานดังกล่าว 2. บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2539 เป็น ผู้แทนจำหน่ายสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติ (ระบบ ON LINE) โดยบริษัทฯ จะต้องจัดหาและติดตั้ง เครื่องจำหน่ายสลากอัตโนมัติจำนวน 5,000 เครื่อง ตามระยะเวลาที่กำหนด บริษัทฯ ต้องประกัน การจำหน่ายสลากแต่ละงวดให้ได้ไม่น้อยกว่า 14 ล้านฉบับ และเป็นเงินไม่น้อยกว่า 560 ล้านบาท และ ต้องจำหน่ายไม่เกินกว่าปริมาณสูงที่สำนักงานฯ จะกำหนดให้ ซึ่งบริษัทฯ จะได้รับ ผลตอบแทนในอัตรา ร้อยละ 9 ของยอดจำหน่ายสลากที่บริษัทฯ จำหน่ายได้ทั้งหมด หากไม่หมดบริษัทฯ จะต้องชำระเงินค่า สลากส่วนที่ขาดหลังจากหักส่วนลดร้อยละ 9 แล้ว นอกจากนี้บริษัทฯ มีสิทธิแต่งตั้งหรือมอบหมายให้ บุคคลอื่นเป็นผู้แทนจำหน่ายย่อย ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นและลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อเสนอที่ต้อง แจ้งให้สำนักงานฯ ทราบ 3. บริษัทฯ ได้ประมาณการรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่มใน อัตราส่วน 20:80 และได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 ตั้งแต่เดือนภาษีมีนาคม 2540 - พฤศจิกายน 2542 และ บริษัทฯ ขอคืนภาษีซื้อทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นมา ต่อมา สำนักงานฯ ไม่สามารถ จัดให้บริษัทฯ เข้าดำเนินการตามสัญญาได้และบอกเลิกสัญญากับบริษัทฯ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 บริษัทฯ จึงขอยกเลิกสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 ทำให้บริษัทฯ ไม่มีรายได้ที่ไม่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการประกอบกิจการดังกล่าวอีกต่อไป จึงได้ยื่นขอเปลี่ยนแปลงการเฉลี่ยภาษีซื้อใหม่ ตามที่เคยยื่นไว้ในอัตรา 20:80 มาเป็นการยื่นภาษีซื้อ 100% ดังนี้ 3.1 ภาษีซื้อในส่วนที่ได้จ่ายไปแล้ว 80% แต่ไม่ได้ขอคืนภาษีซื้อไว้ ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2540 - 10 พฤศจิกายน 2542 บริษัทฯ จะขอยื่นแบบ ค.10 ย้อนหลังในส่วนที่ไม่เกิน 3 ปี 3.2 ภาษีซื้อในส่วนที่จ่ายไปแล้ว 80% แต่ไม่ได้ขอคืนภาษีซื้อไว้ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นไป บริษัทฯ จะขอยื่นภาษีซื้อ 100% 4. ต่อมาบริษัทฯ ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 ขอขยายเวลาการ ขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่จ่ายไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2540 ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2542 ทั้งหมด รวมส่วนที่เกิน 3 ปี เนื่องจากบริษัทฯ เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนทำให้บริษัทฯ ไม่ได้ขอขยาย ระยะเวลาในการขอคืนตั้งแต่แรก 5. สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ได้ตรวจสอบรายงานภาษีซื้อและใบกำกับภาษี ตั้งแต่เดือนภาษี มีนาคม 2540 - พฤศจิกายน 2542 ไม่พบภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อที่ขอคืนมีเพียงร้อยละ 20 จริงและ ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสำนักงาน ค่าโทรศัพท์ และค่ารักษาความสะอาด เป็นต้น และสำนักงาน ภาษีสรรพากรพื้นที่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การประกอบกิจการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยเครื่อง จำหน่ายสลากอัตโนมัติ เป็นการประกอบกิจการขายสินค้าที่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ดังนั้น ภาษีซื้อจากการประกอบกิจการดังกล่าว จึง ไม่สามารถนำมาขอคืนได้สำนักงานสรรพากรภาคได้พิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทฯ จะขอเปลี่ยนแปลงการ เฉลี่ยภาษีซื้อจากเดิม 20:80 เป็น 100% ก็ต่อเมื่อบริษัทฯ ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษี มูลค่า เพิ่มเกี่ยวกับประเภทกิจการที่จะประกอบการซึ่งต้องเป็นกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มชัดเจน เนื่องจากเดิม บริษัทฯ ได้จดทะเบียนแจ้งการขายส่ง ขายปลีก ให้บริการระบบจำหน่ายสลากอัตโนมัติ และวัสดุอุปกรณ์ เกี่ยวกับงานดังกล่าว ซึ่งการจำหน่ายสลากได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(น) แห่ง ประมวลรัษฎากร และตามมาตรา 3(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2534 บริษัทฯ จึง ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 81/3 แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนวัสดุอุปกรณ์อยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็น กิจการเดียวที่บริษัทฯ ได้จดแจ้งไว้และเมื่อ บริษัทฯ ยกเลิกสัญญา ไม่มีการจำหน่ายสลากก็ย่อมไม่มีวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับงานดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น บริษัทฯ จะเปลี่ยนแปลงการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็น 100% ไม่ได้จนกว่าบริษัทฯ ได้จดทะเบียนระบุ กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มชัดเจนก่อนส่วนกรณีการขอขยายระยะเวลาการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ไม่ สามารถขยายได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายในประมวลรัษฎากร ระบุให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรกระทำได้ |
แนววินิจฉัย | : กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการขายส่ง ขายปลีก ให้บริการระบบจำหน่ายสลากอัตโนมัติและวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว และบริษัทฯ ได้ทำสัญญากับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็น ผู้แทนจำหน่ายสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติ (ระบบ ON LINE) ซึ่งการประกอบกิจการจำหน่าย สลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(น) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ มาตรา 3(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 และการจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์เป็น กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นการ ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ จึง ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการประกอบกิจการทั้งจำนวน แต่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำไปหักออกจาก ภาษีขายตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามข้อเท็จจริงบริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 ตั้งแต่ เดือนภาษีมีนาคม 2540 - เดือนภาษีพฤศจิกายน 2542 โดยแสดงยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักใน การคำนวณภาษีในเดือนภาษีเพียงร้อยละ 20 เนื่องจากบริษัทฯ ประมาณการรายได้ที่ต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราส่วน 20:80 ตามข้อ 2 ของ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 ต่อมาสำนักงานฯ ไม่สามารถจัดให้บริษัทฯ เข้าดำเนินการตามสัญญาได้ จึงเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 ทำให้บริษัทฯ ไม่มีรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการประกอบกิจการดังกล่าว อีกต่อไป ดังนั้น ในการยื่นแบบ ภ.พ.30 เดือนภาษีพฤศจิกายน 2542 บริษัทฯ จึงแสดงยอดซื้อที่มีสิทธินำ ภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีสำหรับก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 โดยการเฉลี่ยภาษีซื้อในอัตราส่วน 20:80 และยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักในการคำนวณภาษีตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2542 ทั้งจำนวน สำหรับการยื่นแบบ ภ.พ.30 เดือนภาษีธันวาคม 2542 เป็นต้นไป บริษัทฯ แสดงยอดซื้อที่มีสิทธินำภาษีซื้อ มาหักในการคำนวณภาษีทั้งจำนวน 100% กรณีดังกล่าว 1. การจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 8 1(1)(น) แห่ง ประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 3(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 และ เป็นกิจการที่ไม่มีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ ทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีซื้อที่เกิดจาก รายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว จึงเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535 บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อใน ส่วนที่ได้จ่ายไปแล้ว 80% สำหรับกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2540 - 10 พฤศจิกายน 2542 ได้ 2. กรณีบริษัทฯ ขอเปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อจากเดิม 20:80 เป็น 100% นั้น เมื่อ บริษัทฯ มิได้ประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกต่อไป แต่ได้ประกอบ กิจการประเภทที่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทของการประกอบการเป็น ขายส่ง ขายปลีก เครื่องมือสื่อสาร เครื่องโทรคมนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ แบบพิมพ์ ตลอดจนอุปกรณ์และ อะไหล่ของสินค้าดังกล่าวทุกชนิดทุกประเภท ให้บริการให้คำปรึกษา แนะนำรับบริหารงานโครงการต่าง ๆ ตลอดจนเป็นนายหน้า ตัวแทนในกิจการอื่น ๆ ทุกประเภท บริษัทฯ จึงมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจาก กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ทั้งจำนวน โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ เปลี่ยนแปลงวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อแต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 65/31241 |