เลขที่หนังสือ | : กค 0811/11502 |
วันที่ | : 12 ธันวาคม 2544 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการจัดเก็บภาษีเงินได้ของนักกีฬา |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 9, มาตรา 42(1), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.102/2544 |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ จะจัดการแข่งขันกีฬาเทนนิสหญิง รายการ "วอลโว่ วูเม่นส์ โอเพ่น 2001" ในระหว่างวันที่ 3-11 พฤศจิกายน 2544 ที่สนามเทนนิส โรงแรมดุสิต รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี บริษัทฯ จึงหารือ ดังนี้ 1. ในการแข่งขัน จะมีนักกีฬาทั้งจากต่างประเทศ และนักกีฬาไทย สำหรับนักกีฬา ต่างประเทศ บริษัทฯ จะต้องจัดเตรียมใบผ่านภาษีอากร ให้นักกีฬาทุกคน แต่เนื่องจาก บริษัทฯ จะทราบ รายชื่อของนักกีฬาที่เดินทางมาแข่งขันจริงในวันลงทะเบียน ก่อนการแข่งขันเพียง 1 วัน คือ วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2544 บริษัทฯ จึงขอผ่อนผันการยื่นเอกสาร สำเนาพาสปอร์ต ในการทำ ใบผ่านภาษีให้ นักกีฬา โดยจะขอแจ้งเฉพาะรายชื่อ และสัญชาติของนักกีฬาก่อน และจะนำส่งสำเนาพาสปอร์ต พร้อม การรับรองสำเนาถูกต้อง ให้ภายหลังที่การแข่งขันเสร็จสิ้น 2. เงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นักกีฬาจะมีเงินได้ คือ เงินรางวัลจากการ แข่งขัน ซึ่งจะทราบจำนวนเงินรางวัลของนักกีฬาจากผลการแข่งขันของนักกีฬาแต่ละคน จึงไม่สามารถ แจ้งจำนวนเงินได้ของนักกีฬาในการทำใบผ่านภาษีให้นักกีฬา โดยบริษัทฯ จะขอแจ้งยอดเงินได้ของ นักกีฬาแต่ละคนในภายหลัง 3. โดยกติกาสากลของการแข่งขันกีฬาระดับโลก ประเทศเจ้าภาพจัดการแข่งขันจะต้องจัด เตรียมสถานที่พักให้นักกีฬาที่ผ่านรอบคัดเลือกแล้ว ซึ่งนักกีฬาเหล่านั้นจะได้รับสิทธิในการเข้าพักที่โรงแรม ดุสิต รีสอร์ท พัทยา ตามจำนวนวันที่ยังแข่งขันต่อจนกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันของนักกีฬาแต่ละคน ใน การคำนวณภาษีเงินได้ของนักกีฬาสำหรับการแข่งขันในทุก ๆ ประเทศ จะไม่มีการนำค่าที่พักดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นเงินได้ของนักกีฬา ซึ่งหากนำมารวมคำนวณจะ ทำให้นักกีฬาต่างประเทศไม่เข้าใจ และจะเกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีต่อประเทศไทย ดังนั้น บริษัทฯ จึงขอยกเว้นการนำจำนวนเงินค่าที่พักมารวม คำนวณเป็นเงินได้ของนักกีฬา อนึ่ง ตามกติกาสากลยังกำหนดให้การแข่งขัน จำเป็นต้องมีกรรมการตัดสินที่ต้องได้รับการ รับรองจากสมาคมเทนนิสหญิง (WTA) เป็นจำนวน 3 ท่าน ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีคนไทยที่ได้รับการรับรอง บริษัทฯ จึงต้องจ่ายค่าเดินทางให้กรรมการทั้ง 3 ท่าน เพื่อเชิญมาเป็นกรรมการตัดสิน และจะต้องจ่าย ค่าเบี้ยเลี้ยงให้ด้วย ซึ่งการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย บริษัทฯ จะขอคำนวณจากจำนวนเงิน ค่าเบี้ยเลี้ยงที่จ่ายเท่านั้น เนื่องจาก ถ้าต้องนำค่าเดินทางมารวมเป็นเงินได้ของกรรมการ และคำนวณ ภาษี อาจจะไม่มีกรรมการเดินทางมาตัดสินการแข่งขัน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการจัดการแข่งขันได้ 4. เรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินรางวัลที่จ่ายจะจ่ายเป็นเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งตามกฎหมาย จะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยน แบบวันต่อวัน บริษัทฯ จะขออนุญาตใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นอัตราเดียวกันตลอดการ แข่งขัน เนื่องจากจะ ต้องมีการแจกเงินรางวัลในทุก ๆ วัน ตลอดการแข่งขัน 5. ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.102/2544 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และภาษี มูลค่าเพิ่ม ของนักแสดงสาธารณะ "กรณีนักแสดงสาธารณะมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาเพื่อ การเว้นการเก็บ ภาษีซ้อนกับประเทศไทยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่ประเทศไทยได้ทำ ไว้กับประเทศนั้น ๆ" บริษัทฯ ใคร่ขอคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องอนุสัญญาภาษีซ้อนด้วย เช่น อนุสัญญา ภาษีซ้อนระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย กำหนดว่า ถ้ารายได้ไม่เกิน 100 ดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา หรือเป็นเงินไทยในจำนวนเทียบเท่าต่อวัน หรือเป็นจำนวนรวมไม่เกิน 3,000 ดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา หรือเป็นเงินไทยในจำนวนเทียบเท่าในปีภาษีที่เกี่ยวข้อง กรณีดังกล่าว ถ้านักกีฬามีเงินได้ เกิน 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา การคำนวณภาษี ควรจะเริ่มคำนวณในส่วนที่เกิน 3,000 ดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา ใช่หรือไม่ 6. กรณีนักกีฬาต่างประเทศมีความประสงค์จะขอคืนเงินภาษี ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 นั้น ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60 และสำหรับ เงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40 แต่ในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 นักกีฬาจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากจำนวนเงินได้ที่ได้รับทั้งสิ้น โดยไม่มี การหักค่าใช้จ่าย ทำให้ ถูกหักภาษีไว้เกิน ซึ่งในการเดินทางมาแข่งขันในประเทศไทย นักกีฬาต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวด้วย นักกีฬา จะต้องปฏิบัติอย่างไรในการขอคืนเงินภาษี |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตามข้อ 1 และ 2 สำหรับนักกีฬาต่างประเทศที่บริษัทฯ จะต้องจัดทำ ใบผ่านภาษีอากรให้นั้น บริษัทฯ จะต้องยื่นแบบคำร้องพร้อมกับแนบเอกสารแนบคำร้อง ณ สถานที่กำหนด ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับใบผ่านภาษีอากรของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ข้อ 5 2. กรณีตามข้อ 3 ค่าที่พักของนักกีฬาแต่ละคน และค่าเดินทางของกรรมการที่ได้ จ่ายไปโดย สุจริตตามความจำเป็น เฉพาะในการปฏิบัติตามหน้าที่และได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการนี้ เป็น เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร 3. กรณีตามข้อ 4 เงินรางวัลที่บริษัทฯ จ่ายเป็นเงินเหรียญสหรัฐอเมริกา ต้องคำนวณ เงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นอัตราเดียวกันตลอดการแข่งขันไม่ได้ 4. กรณีตามข้อ 5 นักแสดงสาธารณะหรือนักกีฬา ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่ มีอนุสัญญาเพื่อการ เว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงในอนุสัญญานั้น ๆ ในกรณีของประเทศ สหรัฐอเมริกา มีข้อตกลงว่า ถ้ารายได้ไม่เกิน 100 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา หรือเป็นเงินไทยในจำนวน เทียบเท่าต่อวัน หรือเป็นจำนวนรวมกันไม่เกิน 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา หรือเป็นเงินไทยใน จำนวนเทียบเท่าในปีที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย แต่ถ้านักกีฬามี เงินได้เกิน 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา การคำนวณภาษีให้คำนวณจากจำนวนเงินได้ทั้งหมดที่ได้รับ 5. กรณีตามข้อ 6 นักกีฬาต่างประเทศซึ่งเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินในประเทศไทยตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้เกินไป และประสงค์จะขอคืนเงินภาษี นักกีฬา ต่างประเทศมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 แสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับและขอคืน ภาษีเงินได้ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เป็นผู้ยื่นแบบฯ และขอรับเงินคืนได้ |
เลขตู้ | : 64/31166 |