เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/11501
วันที่: 12 ธันวาคม 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีปรับปรุงระบบการหักภาษี ณ ที่จ่ายใหม่
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(4)(ก), มาตรา 42, มาตรา 48, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544ฯ
ข้อหารือ: สมาคมธนาคารต่างชาติได้เชิญประชุมผู้แทนธนาคารเพื่อหารือถึงผลกระทบและปัญหาจาก
กฎเกณฑ์การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2544 และมีปัญหา
เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ดังกล่าว ดังมีข้อเท็จจริงสรุปได้ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียม Front-end-fee ที่ธนาคารเรียกเก็บจากวงเงินกู้ยืมคูณอัตรา ร้อยละ
และค่าธรรมเนียมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกหนี้ สมาคมฯ เข้าใจว่า
ค่าธรรมเนียมดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์
หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการกู้ยืมตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น (ไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วย
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์) จ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้กับ
ธนาคาร จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ถูกต้องหรือไม่
2. ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก และจำหน่ายครั้งแรกในราคาที่ต่ำกว่าราคา ไถ่ถอน กรณีหาก
ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋วเงินโดยให้บริษัทหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จำหน่ายตั๋ว (ผู้ออกตั๋วเงินและผู้จำหน่าย
ตั๋วเงินมิได้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน) ผู้จำหน่ายตั๋วเงินให้แก่ธนาคารมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับผล
ต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินดังกล่าวหรือไม่ และต้องหักเมื่อขายหรือเมื่อถึงกำหนด
ไถ่ถอนตั๋วเงิน
ตัวอย่าง เช่น ธนาคาร A ออกตั๋วเงินราคาตามหน้าตั๋ว 100 บาท ขายให้ธนาคาร B ใน
ราคา 90 บาท ธนาคาร B ขายให้บริษัท C ในราคา 95 บาท เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนบริษัท C จะ
ไถ่ถอนกับธนาคาร A โดยผ่านระบบ clearing ของธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาษีจะถูกหัก
2.1 เมื่อธนาคาร B ขายให้บริษัท C หรือ
2.2 เมื่อบริษัท C มาไถ่ถอนกับธนาคาร A ในวันที่ตั๋วครบกำหนด โดยคิดจากผลต่าง
A) 100 - 95 = 5 หรือ
B) 100 - 90 = 10
ในกรณี 2.2 ธนาคารจะไม่สามารถหักภาษีได้ในกรณีที่ลูกค้านำตั๋วมาไถ่ถอนผ่านระบบ
clearing ของธนาคารแห่งประเทศไทย และในกรณีหักตาม 2.2 B) จะมีปัญหา เพราะ ลูกค้าจะไม่
ทราบราคาที่ธนาคาร A ได้ขายตั๋วเงินนั้นเป็นครั้งแรก และลูกค้าไม่ควรรับผิดชอบใน ส่วนลดที่บริษัท
ไม่ได้รับจากการขายซื้อตั๋วเงินครั้งแรก
2.3 หรือเมื่อธนาคาร A จำหน่ายและขายตั๋วเงินในครั้งแรก
3. กรณีธนาคารเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหลายประเภทในใบแจ้งหนี้เดียวกัน ค่าธรรมเนียม
บางรายการอาจมีจำนวนไม่ถึง 1,000 บาท แต่มูลค่ารวมทั้งสิ้นเกิน 1,000 บาท สมาคมฯ เข้าใจว่า
ธนาคารต้องหักภาษีแยกตามประเภทของเงินได้แต่ละรายการดังตัวอย่างข้างล่างนี้
ตัวอย่างใบแจ้งหนี้
ค่าใช้คู่สาย (Cable Charge) 700 บาท
ค่าธรรมเนียมชดเชยกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
(Commission in lieu) 800 บาท
ค่าธรรมเนียมจากการเรียกเก็บเงิน (Collection fee) 1,600 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,100 บาท
จากตัวอย่าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 3
เฉพาะค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงิน ซึ่งเกิน 1,000 บาท เท่านั้น ถูกต้องหรือไม่แนววินิจฉัย
1. ค่าธรรมเนียม Front-end-fee เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ
ดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการกู้ยืมซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่
ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์และบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ
หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ จ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้กับธนาคาร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้
ดังกล่าวไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ เพราะไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้หัก
2. ในกรณีที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋วเงิน และจำหน่ายครั้งแรกในราคาที่ต่ำกว่าราคาไถ่ถอน
โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่นเป็นผู้จำหน่าย กรณีถือว่าเป็นการกระทำการแทนธนาคาร ดังนั้น
เมื่อจำหน่ายตั๋วเงินให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้รับจำหน่ายตั๋วเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้
จากผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
กล่าวคือตามตัวอย่างที่สมาคมฯ ยกมาในข้อ 2.3 นั้น เมื่อธนาคาร A จำหน่ายและขายตั๋วเงินใน
ครั้งแรกธนาคาร A ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี เมื่อตั๋วเงินครบกำหนดไถ่ถอนและโดยที่ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคา
จำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและ
จำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก)
แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ธนาคารซึ่งเป็นธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และบริษัท
ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์มีหน้าที่หัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นดังนี้
(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยนอกจากที่ระบุใน (ข) แต่
ไม่รวมถึงธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และบริษัทตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตรา
ร้อยละ 1.0
(ข) มูลนิธิสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ รัฐมนตรี
ประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ใน
อัตราร้อยละ 10.0
ทั้งนี้ ตามข้อ 4 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้ พึง
ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน
พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง
ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน
พ.ศ. 2544 กรณีนี้ย่อมเป็นไปตามตัวอย่างที่ 2.2 B) ที่สมาคมฯ ยกมา
3. กรณีค่าธรรมเนียมหลายประเภทในใบแจ้งหนี้ใบเดียวกันนั้น หากค่าธรรมเนียมดังกล่าว
เข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ
3.0 ของเงินได้ เมื่อจ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และใน
อัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อจ่ายให้กับผู้รับที่เป็นมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ตามข้อ 3/1 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
หากค่าธรรมเนียมดังกล่าวเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นมีหน้าที่หักภาษี ณ
ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 ของเงินได้ เมื่อจ่ายให้แก่ผู้รับที่เป็นผู้มีหน้าที่เสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม ตามข้อ
8 และข้อ 12/1 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญา รายหนึ่ง ๆ มี
จำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง หนึ่งพันบาท ตามข้อ 12/5
แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ อย่างไรก็ตาม กรณีการให้บริการตามสัญญาระยะยาวซึ่งไม่
สามารถคำนวณค่าบริการที่จะได้รับทั้งสิ้นเป็นจำนวนที่แน่นอน แต่ ผู้รับบริการจะต้องชำระค่าบริการ
ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากการจ่ายค่าบริการไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่หากการจ่ายค่าบริการครั้งต่อไปซึ่งเมื่อนำไปรวมกับค่าบริการครั้งที่ผ่านมาที่มี
การจ่ายไปแล้วเป็นจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยจะ
ต้องนำเงินค่าบริการที่จ่ายในครั้งก่อน ๆ มารวมคำนวณเพื่อหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายด้วย และกรณีการทำ
สัญญาที่ผู้จ่ายเงินรายหนึ่งรายใดทำสัญญาในลักษณะทำนองเดียวกันหลาย ๆ สัญญากับผู้รับเงินรายเดียว
ซึ่งแต่ละสัญญามีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท หากการจ่ายเงินหลาย ๆ สัญญาดังกล่าวรวมกันเป็นจำนวนตั้งแต่
หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ให้ถือปฏิบัติตาม
คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การหักภาษี ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 เรื่อง
สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2544
แนววินิจฉัย:
เลขตู้: 64/31165


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020