เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/9819
วันที่: 11 ตุลาคม 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณหักภาษีเงินได้
ข้อกฎหมาย: มาตรา 9
ข้อหารือ: บริษัทฯ เป็นนิติบุคคลจดทะเบียน และประกอบกิจการในประเทศไทย ได้ร่วมทุนกับบริษัท A
ซึ่งเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ตามสัญญา
บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าสิทธิ (ROYALTY) ให้กับบริษัท A เป็นจำนวน 2,774,715.71 บาท บริษัทฯ ได้หัก
ภาษีจากการจ่ายค่าสิทธิไว้ 15% เป็นจำนวน 416,207.36 บาท ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
เหลือค่าสิทธิสุทธิเป็นจำนวน 2,358,508.35 บาท บริษัทฯ ได้กรอกแบบฟอร์มขอซื้อเงินตรา
ต่างประเทศจากธนาคาร โดยระบุในคำขอว่าให้ส่งเงินจำนวน 2,358,508.35 บาท เทียบเท่าเงิน
USD. ในวันที่ตามคำขอ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคาร ณ วันที่โอนเท่ากับ 37.50 บาทต่อดอลลาร์
ค่าสิทธิดังกล่าวจึงคิดเป็นเงินดอลลาร์เท่ากับ 62,874.89 USD. บริษัทฯ ได้หักภาษีเงินได้และ
ภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ตามยอดฐานภาษี 2,774,715.71 บาท ต่อมาสรรพากรพื้นที่ 7 ได้เรียกบริษัทฯ
เข้าพบ และแจ้งว่า บริษัทฯ หักภาษีไว้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากฐานภาษีต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย
เงินดอลลาร์ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเท่ากับ 37.7913 บาท/ดอลลาร์ บริษัทฯ จึงขอ
ปรึกษาว่า การคำนวณหักภาษีเงินได้ของบริษัทฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีการจ่ายเงินค่าสิทธิของบริษัทฯ แม้ได้กำหนดจำนวนเงินไว้เป็นเงินบาทก็ตาม แต่เมื่อ
บริษัทฯ ส่งเงินไปต่างประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ บริษัทฯ จะต้องใช้อัตรา แลกเปลี่ยนเงินตรา
ตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้เป็นอัตรา แลกเปลี่ยนใน
การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยของวันถัดไปตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับข้อ 2(1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.71/2541 ฯ ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541
เลขตู้: 64/31002


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020