เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/9238
วันที่: 20 กันยายน 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการโอนทรัพย์สิน
ข้อกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 384)พ.ศ. 2544
ข้อหารือ: บริษัทฯ กำลังทำแผนการปรับปรุงโครงสร้างการถือหุ้นและการลงทุนเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพใน
การดำเนินธุรกิจโดยจะมีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่บริษัทในกลุ่มที่เป็นบริษัทในเครือเดียวกันตาม
มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงขอทราบว่าในกรณีที่บริษัทฯ โอนกิจการ บางส่วนให้แก่กันตาม
หลักเกณฑ์ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการ
โอนกิจการบางส่วนให้แก่กันของบริษัทมหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพื่อยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 2
กันยายน พ.ศ. 2542 ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ตาม
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 บริษัทฯ จะใช้ราคาทุนที่ปรากฏในบัญชี สำหรับทรัพย์สินที่
โอนให้แก่กัน ในการคำนวณกำไรสุทธิ โดยถือว่ามีเหตุอันสมควรได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีที่บริษัทฯ ได้โอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน และได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 แล้ว การที่บริษัทฯ จะใช้ราคาทุนตามบัญชี (book
value) ในวันที่โอนทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิ ถือว่า
มีเหตุอันสมควรที่จะคิดค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดได้
อนึ่ง การยกเว้นภาษีอากรตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2542 ได้ยกเว้นให้
เฉพาะกรณีที่มีการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม
กรณีดังกล่าวได้มีการขยายเวลาการยกเว้นภาษีอากรในลักษณะเดียวกันออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม
2544 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 384) พ.ศ. 2544
เลขตู้: 64/30936

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020