เลขที่หนังสือ | : กค 0811/8385 |
วันที่ | : 28 สิงหาคม 2544 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการจัดรายการชิงโชค |
ข้อกฎหมาย | : คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528ฯ |
ข้อหารือ | : สำนักงานสรรพากรภาค แจ้งว่า บริษัทฯ เป็นศูนย์การค้า บริษัทฯ ได้จัดรายการชิงโชคให้ แก่ลูกค้าเมื่อซื้อสินค้าภายในศูนย์การค้า รางวัลคือบ้านพร้อมที่ดิน 1 หลัง มูลค่า 2,000,000 บาท ศูนย์การค้าจะรับบ้านจากบริษัท A โดยต่างมีผลตอบแทนคือ บริษัท A ให้บ้านพร้อมที่ดินศูนย์การค้าให้ พื้นที่โชว์ ขายบ้านเป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2540 ถึงมิถุนายน 2541 ศูนย์การค้าบันทึกรายการบัญชี เดบิต มูลค่าของรางวัล 2,000,000.- เครดิต รายได้รับล่วงหน้า 2,000,000.- เมื่อบริษัท A ใช้พื้นที่จริง ศูนย์การค้าจะออกใบเสร็จรับเงินตามมูลค่าของพื้นที่โชว์ เช่น ครั้งที่ 1 มูลค่า 200,000.- บาท ศูนย์การค้าจะออกใบเสร็จรับเงิน 200,000.- บาท ศูนย์การค้าบันทึกรายการบัญชี เดบิต รายได้รับล่วงหน้า 200,000.- เครดิต รายได้ค่าเช่าพื้นที่ 200,000.- น.ส. ก. เป็นผู้ได้รับรางวัลศูนย์การค้าได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 และ นำส่งกรมสรรพากร บริษัท A ได้ใช้พื้นที่ศูนย์การค้า 4 ครั้ง เป็นเงิน 800,000 บาท แต่บริษัท A ไม่ สามารถโอนบ้านพร้อมที่ดินให้ น.ส. ก. ได้ เนื่องจากมีปัญหาการเงินกับธนาคาร (NPL) ศูนย์การค้า ได้ทำการตกลงกับ น.ส. ก เปลี่ยนของรางวัลเป็นรถยนต์ 1 คัน ศูนย์การค้าได้เจรจาตกลงกับบริษัท B ขอรางวัลรถยนต์ 1 คัน มูลค่า 900,000 บาท โดยมีผลตอบแทนเช่นเดียวกับบริษัท A คือ ให้ใช้พื้นที่ โชว์และขายรถจำนวน 6 ครั้งภายใน 6 เดือน มูลค่า 900,000 บาท ศูนย์การค้าหารือว่า 1. ศูนย์การค้าต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กับ น.ส. ก. ในอัตราร้อยละ 5 มูลค่า 900,000 บาท อีกครั้งหรือไม่ และในกรณีที่ น.ส. ก. ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ครั้งแรก สามารถ ขอคืนภาษีได้หรือไม่ 2. ศูนย์การค้ากำลังฟ้องร้องบริษัท A และได้โอนกลับรายการ รายได้รับล่วงหน้าซึ่งคงเหลือ 1,200,000 บาท ศูนย์การค้าจะดำเนินการอย่างไรและต้องบันทึกรายการอย่างไร หากมีการฟ้องร้อง คดีต่อศาล สำนักงานสรรพากรภาค เห็นว่า 1. กรณีตามข้อ 1 การที่ศูนย์การค้าไม่สามารถมอบที่ดินและบ้านให้แก่ลูกค้าตาม ที่ได้จัด รายการชิงโชคเนื่องจากบริษัท A ไม่สามารถส่งมอบที่ดินและบ้านให้ศูนย์การค้า แต่ศูนย์การค้าได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าของที่ดินและบ้านและนำส่งกรมสรรพากรแล้ว ในกรณีดังกล่าว ศูนย์การค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายแต่อย่างใด เนื่องจากการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จะ หักเมื่อศูนย์การค้าได้จ่ายรางวัลให้แก่ลูกค้า ดังนั้น น.ส. ก. ต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 27 ตรี แห่ง ประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตามเมื่อศูนย์การค้าได้เปลี่ยนมูลค่าของรางวัลเป็นรถยนต์ให้ น.ส. ก แทนที่ ดินและบ้าน ศูนย์การค้ามีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ตามนัยข้อ 9(1) ของ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 2. กรณีตามข้อ 2 ศูนย์การค้าได้ยื่นฟ้องบริษัท A ให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา ศูนย์การค้าจะบันทึกรายได้ต่อเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้บริษัท A ชดใช้ค่าเสียหายแก่ศูนย์การค้า แต่ เนื่องจากยังไม่มีแนววินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว จึงขอทราบว่า ความเห็นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : ความเห็นของภาคถูกต้องแล้ว |
เลขตู้ | : 64/30882 |