เลขที่หนังสือ | : กค 0811/8244 |
วันที่ | : 27 สิงหาคม 2544 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการประกอบกิจการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน (Freight Forwarder) |
ข้อกฎหมาย | : คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528ฯแก้ไขเพิ่มเติมโดย ท.ป. 101/2544ฯ |
ข้อหารือ | : สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย (Thai Airfreight Forwarders Association) หารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการประกอบกิจการรับ จัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน (Freight Forwarder) ตามคำชี้แจงกรมสรรพากร ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2544 และตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/7275 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานขาออก (Air Fre ight Outbound) 1.1 กรณีผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการบิน โดยสายการบินออก ใบตราส่ง Master Air Waybill) ให้กับผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ (1) กรณีจ่ายให้กับสายการบินไทย ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 3.0 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสายการบิน (2) กรณีจ่ายให้กับสายการบินต่างประเทศซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้น การเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของ ยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสายการบิน (3) กรณีจ่ายให้กับสายการบินต่างประเทศซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้น การเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย หากอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้เก็บภาษีได้เฉพาะในรัฐผู้ทำสัญญา รัฐนั้นเท่านั้น ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่หากอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้เก็บ ภาษีได้ร้อยละ 1.5 ของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 1.5 ของยอดรวมทั้งหมด และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสายการบิน ซึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยได้จัดทำความตกลงหรืออนุสัญญาภาษีซ้อนและมีผลบังคับใช้แล้วจำนวน 43 ประเทศ ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1.2 กรณีสายการบินต่างประเทศประกอบกิจการในประเทศไทยโดยมีตัวแทนสายการบินหรือ เรียกว่า GENERAL SALES AGENT (GSA) เมื่อผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกให้กับตัวแทนสายการบิน (GSA) โดยตัวแทนสายการบินได้ออกใบตราส่ง (Master Air Waybill) ในนามสายการบินให้กับ ผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ตาม 1.1 และเมื่อตัวแทนสายการบิน (GSA) นำเงินค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับ การขนส่งสินค้าขาออกจำนวนดังกล่าวจ่ายให้กับสายการบิน ตัวแทนสาย-การบิน (GSA) ไม่มีหน้าที่ต้อง หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 1.2 กรณีผู้ประกอบการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยาน (Freight Forwarder) ได้เรียกเก็บค่าขนส่งสินค้าจากเจ้าของสินค้า (Shipper) หลายราย ซึ่งใน ทางปฏิบัติ Freight Forwarder จะขายค่าระวางโดยส่งมอบใบตราส่งของ Freight Forwarder (Master Air Waybill หรือ House Air Waybill) ให้กับเจ้าของสินค้า (Shipper) แต่ละราย ไปก่อน และ Freight Forwarder จ่ายเงินทดรองจ่ายแทนเจ้าของสินค้าเป็นค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกทั้งหมดให้กับสายการบินในนามของ Freight Forwarder เอง โดยไม่สามารถแยกจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการบินเป็นแต่ละ รายเจ้าของสินค้า (Shipper)ดังนั้น Freight Forwarder จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ตาม 1.1 ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับสายการบินในนามของ Freight Forwarder และยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.53 โดยระบุชื่อ ที่อยู่ และ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ Freight Forwarder ในช่อง ผู้จ่ายเงิน ซึ่งกรมสรรพากรจะ ออกใบเสร็จรับเงินในนามของ Freight Forwarder กรณีดังกล่าว Freight Forwarder ไม่ต้อง ปฏิบัติตามข้อ 4 ของคำชี้แจงกรมสรรพากร ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2544 อย่างไรก็ดี หาก Freight Forwarder สามารถแยกจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการบินในนามของเจ้าของสินค้า แต่ละรายได้ ให้ Freight Forwarder ปฏิบัติตามข้อ 4 ของคำชี้แจงกรมสรรพากร ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งการปฏิบัติตามข้อ 4 ของคำชี้แจงกรมสรรพากรดังกล่าว เมื่อเจ้าของสินค้า จ่ายเงินค่าขนส่งสินค้าขาออกคืนให้กับ Freight Forwarder เจ้าของสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณี Freight Forwarder จ่ายเงินทดรองจ่ายแทนเจ้าของสินค้า เป็นค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกทั้งหมดให้กับสายการบิน ซึ่ง Freight Forwarder มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ตาม 1.1 แล้ว เมื่อ เจ้าของสินค้า (Shipper) จ่ายเงินค่าขนส่งสินค้าขาออกดังกล่าวให้กับ Freight Forwarder เจ้าของสินค้ายังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 จากยอดรวมทั้งหมด ตาม ข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 อย่างไรก็ดี หากค่าขนส่งที่ Freight Forwarder เรียกเก็บจากเจ้าของสินค้าสามารถสอบยันได้กับยอดที่ Freight Forwarder ได้จ่ายให้กับสายการบิน ซึ่ง Freight Forwarder ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แล้ว เจ้าของสินค้า (Shipper) ก็ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับค่าขนส่งสินค้า ขาออกที่ Freight Forwarder เรียกเก็บ แต่อย่างใด ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อ Freight Forwarder ออกใบเสร็จรับเงินให้กับเจ้าของสินค้า (Shipper) โดยระบุข้อความเพิ่มเติมมีสาระสำคัญสรุปว่า ค่าระวางขนส่งสินค้าขาออกตามใบเสร็จรับเงินฉบับนี้ Freight Forwarder ได้ดำเนินการหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากสายการบิน แล้ว กรณีดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการสอบยันค่าขนส่งสินค้าขาออก ตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0811/7275 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 2. กรณีการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานขาเข้า (Air Fre ight Inbound) 2.1 กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้าให้กับสายการบิน โดยสายการบินออกใบเสร็จรับเงิน ในนามของผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) (1) กรณีจ่ายให้กับสายการบินไทย ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (2) กรณีจ่ายให้กับสายการบินต่างประเทศ เนื่องจากเป็นการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้า ซึ่ง ไม่เป็นฐานในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็น ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 2.2 กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้าให้กับ Forwarder A โดย Forwarder A กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของ Forwarder ในต่างประเทศ และได้ออกใบเสร็จรับเงินในนามของ ผู้ใช้บริการ ถือว่าผู้ใช้บริการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้าซึ่งไม่เป็นฐานในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตาม มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ใน ส่วนที่กระทำการแทนนั้น แต่ผู้ใช้บริการยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการที่ Forwarder A ได้รับจากการดำเนินการแทนนั้น (Handling Charge) 3. อนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการปรับลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับ การจ่ายเงินค่าขนส่งจากอัตราร้อยละ 3.0 เป็นอัตราร้อยละ 1.0 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2544 เป็นต้นไป จึงขอแจ้งมาเพื่อทราบ และเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับ กรมสรรพากรจะ ได้แจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง |
เลขตู้ | : 64/30876 |