เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ./7986
วันที่: 20 สิงหาคม 2544
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการตั้งตัวแทนออกใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อกฎหมาย: ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68)ฯ, มาตรา 86/5 (4) มาตรา 86/6, มาตรา 82/3
ข้อหารือ: หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่น การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง
การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ได้ให้ผู้ใช้บริการชำระค่าบริการผ่าน
ธนาคารฯ โดยวิธีการหักบัญชีเพื่อชำระค่าสาธารณูปโภค แล้วแต่กรณี ปัจจุบันนอกเหนือจากการยินยอมให้
ธนาคารฯ หักบัญชีเพื่อนำไปชำระค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ เจ้าของบัญชีสามารถโอนเงินเพื่อชำระ
ค่าบริการดังกล่าว โดยวิธีโอนเงินจากบัญชีของตนเองเข้าบัญชีของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ผ่าน
ระบบเครือข่าย Internet เช่นเดียวกับการชำระค่าภาษีอากรผ่านระบบ Internet ของ
กรมสรรพากร จึงขอทราบว่ากรณีธนาคารฯ ได้ตกลงกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เพื่อรับชำระค่า
สาธารณูปโภคโดยวิธีดังกล่าว ธนาคารฯ อยู่ในหลักเกณฑ์ต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนหรือไม่
แนววินิจฉัย: หน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นผู้ประกอบกิจการค้าปลีก ตามมาตรา 86/6 แห่ง
ประมวลรัษฎากร มีสิทธิตั้งธนาคารฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
82/3 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นตัวแทนออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5(4)แห่งประมวลรัษฎากรได้
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 68) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข การออกใบกำกับภาษีโดยตัวแทน และ
กำหนดรายการในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม
พ.ศ.2538 แต่อย่างไรก็ดี ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 68)ฯ ลงวันที่
25 ธันวาคม พ.ศ.2538 มิได้บังคับว่าเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ที่มีสิทธิตั้งตัวแทนให้ออกใบกำกับภาษีได้แล้ว จะ
ต้องทำสัญญาตั้งตัวแทนเพื่อรับชำระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ และ
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี และใบรับแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนตัวการ
แต่อย่างใด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาว่ามีความประสงค์จะตั้งตัวแทนเพื่อออกใบกำกับภาษี
แทนตัวการหรือไม่
เลขตู้: 64/30845

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020