เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ./7894
วันที่: 16 สิงหาคม 2544
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเลิกกิจการและโอนกิจการ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 8, มาตรา 82
ข้อหารือ: สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่หารือเรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเลิกกิจการและโอนกิจการ ราย
B ว่ายังไม่ชัดเจน จึงขอหารืออีกครั้งหนึ่งในประเด็นดังนี้
1. B สิ้นสุดการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อจดแจ้งเลิกประกอบธุรกิจ
ของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539 หรือเมื่อจดแจ้งเลิกประกอบกิจการ
และโอนกิจการ กับสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 โดยไม่ให้มีผลย้อนหลังไป
เป็นวันที่ 17 กันยายน 2539 ตามที่บริษัทฯ แจ้ง
2. เนื่องจากปัจจุบัน B มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแล้ว ในกรณีมีความผิดเกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำการประเมินภาษีหรือเรียกคืนเงินภาษี จะประเมินภาษีหรือเรียกคืนเงินภาษีไปยัง
สถานประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งปัจจุบันได้แจ้งเลิกประกอบการแล้ว หรือจะประเมินไป
ยังภูมิลำเนาของนิติบุคคลดังกล่าว ซึ่งอยู่ในประเทศคานาดา และหากต้องทำการประเมินไปยังภูมิลำเนา
หน่วยงานใดมีอำนาจดำเนินการ และต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า
1. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า B เคยประกอบกิจการในประเทศไทย ในฐานะเป็น
ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และได้แจ้งเลิกประกอบธุรกิจเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2539
โดยต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2540 ได้แจ้งโอนกิจการ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ให้แก่ C และแจ้ง
เลิกกิจการ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามมาตรา 85/13 และมาตรา 85/15 แห่งประมวลรัษฎากร โดยขอให้
มีผลย้อนหลัง จนถึงวันที่ 17 กันยายน 2539 ซึ่งเจ้าพนักงานยังไม่ได้พิจารณาอนุมัตินั้น กรณีถือได้ว่า “
ตั้งแต่ก่อนที่จะแจ้งเลิกประกอบธุรกิจ B ยังคงมีฐานะเป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและ
เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่” ดังนั้น B จึงสิ้นสุดการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อได้จดแจ้งเลิกประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 17
กันยายน 2539
2. กรณีความผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องทำการประเมินภาษี หรือเรียกคืนเงินภาษี แต่
เนื่องจากปัจจุบัน B มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแล้ว หากต้องทำการประเมินภาษีไปยังภูมิลำเนา
ซึ่งอยู่ ณ ประเทศคานาดา หน่วยงานใดมีอำนาจดำเนินการและต้องดำเนินการอย่างไร
แนววินิจฉัย: ตามมาตรา 82 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่
ผู้ประกอบการ ดังนั้น กรณีบริษัท B แม้ว่าจะมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยแล้ว แต่ในระหว่างที่ยัง
ประกอบกิจการในประเทศอยู่และมีฐานะเป็นผู้ประกอบการ จึงเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี ในการประเมินภาษี
มูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมิน จึงมีอำนาจในการประเมินให้บริษัท B เสียภาษีหรือคืนภาษีแล้วแต่
กรณี การประเมินภาษีดังกล่าวจึงเป็นการประเมินภาษีของการประกอบกิจการ ในฐานะที่เป็น
ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษี แม้ว่าจะได้เลิกประกอบกิจการแล้ว เจ้าพนักงานในท้องที่ที่บริษัท B
ในระหว่างการประกอบกิจการมีสถานประกอบการตั้งอยู่ จึงยังคงมีอำนาจที่จะประเมินได้ สำหรับการส่ง
ใบแจ้งการประเมินในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ออกไปนอกราชอาณาจักร จะใช้วิธีโฆษณาข้อความย่อใน
หนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 64/30807

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020