เลขที่หนังสือ | : กค 0811/7684 |
วันที่ | : 3 สิงหาคม 2544 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเล |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 3 เตรส, กฎกระทรวง ฉบับที่ 144 (พ.ศ. 2522), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528) |
ข้อหารือ | : สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (THAI INTERNATIONAL FREIGHT FORWARDERS ASSOCIATION) ได้หารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเล ตามคำชี้แจงกรมสรรพากร ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเลขาออก 1.1 กรณีผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง (Freight prepaid) หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการเดินเรือ โดย สายการเดินเรือออกใบตราส่ง (Master Bill of Lading) และใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ใช้บริการ ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ (1) กรณีจ่ายให้กับสายการเดินเรือไทย หากปรากฏว่า สายการเดินเรือไทยเป็นสายการเดินเรือที่เข้าลักษณะตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (2) กรณีจ่ายให้กับสายการเดินเรือต่างประเทศซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ที่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย หากอนุสัญญาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้มีการลดภาษี ที่บังคับจัดเก็บในรัฐอีกรัฐหนึ่งลงเป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 50 ของภาษีที่บังคับจัดเก็บ ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.5 ของยอดรวมทั้งหมด (3) กรณีจ่ายให้กับสายการเดินเรือต่างประเทศซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศ ที่ไม่มีอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของยอดรวมทั้งหมด 1.2 กรณีผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder A) จ่ายค่าระวาง (Freight-prepaid) หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกให้กับ Forwarder B โดย Forwarder B ออกใบตราส่ง (House B/L) และออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder A) ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของยอดรวมทั้งหมดจาก Forwarder B 1.3 กรณีผู้ใช้บริการ (Forwarder) จ่ายค่าระวาง (Freight prepaid) หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการเดินเรือ โดยสายการเดินเรือออก ใบตราส่ง (Master Bill of Lading) ให้กับ Forwarder ในนามของเจ้าของสินค้า (Shipper) แต่ใบเสร็จรับเงินออกในนาม Forwarder กรณีดังกล่าว ถือว่า Forwarder จ่ายค่าบริการขนส่งสินค้า ขาออกให้กับสายการเดินเรือ Forwarder จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ตาม 1.1 จากสายการเดินเรือ และ Forwarder จะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับสาย การเดินเรือในนามของ Forwarder กรณี Forwarder เรียกเก็บค่าระวาง (Freight prepaid) หรือผลประโยชน์ อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกจากเจ้าของสินค้า (Shipper) โดยใช้ใบตราส่งของ สายการเดินเรือดังกล่าว (Master Bill of Lading) และ Forwarder ออกใบเสร็จรับเงินใน นามของเจ้าของสินค้า (Shipper) กรณีดังกล่าว ถือว่าเจ้าของสินค้า (Shipper) จ่ายค่าบริการ ขนส่งสินค้าขาออกให้กับ Forwarder เจ้าของสินค้า (Shipper) มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 จากยอดรวมทั้งหมด และเจ้าของสินค้า (Shipper) จะต้องออก หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับ Forwarder 1.4 กรณีผู้ใช้บริการ (Forwarder) จ่ายค่าระวาง (Freight prepaid) หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกให้กับสายการเดินเรือ โดยสายการเดินเรือออก ใบตราส่ง (Master Bill of Lading) ให้กับ Forwarder ในนามของเจ้าของสินค้า (Shipper) และสายการเดินเรือออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า (Shipper) ด้วย Forwarder จะ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเจ้าของสินค้า (Shipper) ดังนั้น เมื่อ Forwarder จ่ายค่าบริการขนส่งสินค้า ขาออกให้กับสายการเดินเรือในนามของเจ้าของสินค้า (Shipper) Forwarder จึงมีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ตาม 1.1 จากสายการเดินเรือ โดยออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของ Forwarder เอง และระบุชื่อที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้า (Shipper) ด้วย ซึ่งถือเป็นการกระทำการแทนเจ้าของสินค้า (Shipper) ต่อมาเมื่อเจ้าของสินค้า (Shipper) จ่ายเงินดังกล่าวคืนให้กับ Forwarder เจ้าของสินค้า (Shipper) ไม่มีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จาก Forwarder Forwarder มีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นรายฉบับแต่ละรายเจ้าของสินค้า (Shipper) โดยระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้ เสียภาษีอากรของเจ้าของสินค้า (Shipper) ในช่อง ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และระบุชื่อ Forwarder ในช่อง ผู้จ่ายเงิน ซึ่งกรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้า (Shipper) และให้ Forwarder ส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ใบเสร็จรับเงินจากการ ยื่นแบบภ.ง.ด.53 และสำเนาแบบ ภ.ง.ด.53 ให้กับเจ้าของสินค้า (Shipper) 1.5 กรณีสายการเดินเรือให้บริการขนส่งสินค้าขาออก โดยสายการเดินเรือออก ใบตราส่ง (Master Bill of Lading) ให้กับเจ้าของสินค้า (Shipper) แต่สายการเดินเรือ เรียกเก็บค่าระวางและผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกในต่างประเทศ (Freight Collect) จากผู้ซื้อสินค้าในต่างประเทศ (Consignee) กรณีดังกล่าว สายการเดินเรือจะต้องนำ รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนสินค้าออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวางและประโยชน์ อื่นใดตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง (Master Bill of Lading) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอก ประเทศไทยมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เจ้าของ สินค้า (Shipper) ไม่เป็นผู้จ่ายเงินได้จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีสายการเดินเรือให้บริการขนส่งสินค้าขาออกกับ Forwarder โดย สายการเดินเรือออกใบตราส่ง (Master Bill of Lading) ให้กับ Forwarder แต่ สายการเดินเรือเรียกเก็บค่าระวางและผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกในต่างประเทศ (Freight Collect) จาก Forwarder ในต่างประเทศ ดังนั้น Forwarder ในประเทศไทยไม่เป็น ผู้จ่ายเงินได้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณี Forwarder ออก House Bill of Lading ให้กับเจ้าของสินค้า (Shipper) หาก House Bill of Lading มีค่าระวางและ ผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออกที่เรียกเก็บในต่างประเทศ (Freight Collect) เจ้าของสินค้า (Shipper) ไม่เป็นผู้จ่ายเงินได้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่หาก House Bill of Lading มีการชำระค่าระวางและผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออก ในประเทศ (Freight prepaid) จากเจ้าของสินค้า (Shipper) เจ้าของสินค้า (Shipper) ซึ่ง เป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 จากยอดรวมทั้งหมดจาก Forwarder 1.6 ในกรณีที่มีการทำสัญญาขนส่งสินค้าขาออกทั้งปีเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่าง เจ้าของสินค้า (Shipper) กับ Forwarder หรือระหว่าง Forwarder กับสายการเดินเรือ หรือ ระหว่างเจ้าของสินค้า (Shipper) กับ สายการเดินเรือ หากการจ่ายเงินตามสัญญารายหนึ่งๆ จำนวน ตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แม้ว่าการจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่าย ครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึงหนึ่งพันบาท การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย พิจารณาจากยอดรวมของสัญญาขนส่งสินค้า ขาออกแต่ละเที่ยวที่ขนส่ง อย่างไรก็ดี หากแต่ละสัญญามีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาทแต่การจ่ายเงินรวมกัน แล้วถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่น เจ้าของสินค้า (Shipper) ทำ สัญญาขนส่งสินค้าขาออกไปประเทศ Singapore ยอดค่าใช้จ่ายเที่ยวละ 800 บาท และทำสัญญาขนส่ง สินค้าขาออกไป Rotterdam ยอดค่าใช้จ่ายเที่ยวละ 3,000 บาท แต่เจ้าของสินค้า (Shipper) มี ความประสงค์จะจ่ายเช็คเพียง 1 ฉบับ จำนวนเงิน 3,800 บาท เจ้าของสินค้า (Shipper) ยังคงมี หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากจำนวนเงิน 3,800 บาท 2. กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเลขาเข้า 2.1 กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง (Freight)หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้าให้กับสายการเดินเรือ โดย สายการเดินเรือออกใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) (1) กรณีจ่ายให้กับสายการเดินเรือไทย หากปรากฏว่า สายการเดินเรือไทยเป็นสายการเดินเรือที่เข้าลักษณะตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่าย เงินไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (2) กรณีจ่ายให้กับสายการเดินเรือต่างประเทศ เนื่องจากเป็นการ จ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้า ซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่ง ประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 2.2 กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder B) จ่ายค่าระวาง (Freight) หรือผลประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้าให้กับ Forwarder A โดย Forwarder A กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของ Forwarder ในต่างประเทศ และได้ออก ใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ใช้บริการ ถือว่าผู้ใช้บริการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้าซึ่งไม่เป็นฐานภาษีใน การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจึงไม่มี หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในส่วนที่กระทำการแทนนั้น แต่ผู้ใช้บริการยังคงมีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการที่ Forwarder A ได้รับจากการดำเนินการ แทนนั้น (Handling Charge) |
เลขตู้ | : 64/30746 |