เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/7657
วันที่: 2 สิงหาคม 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีรายได้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(8)
ข้อหารือ: ตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้
พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.
2528 โดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40
แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ซึ่งตามข้อ 12/1
ของคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าว ได้กำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากค่าบริการ ในอัตราร้อยละ 3.0
สมาคมฯ เห็นว่า รายได้ของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรายได้ค่าบริการจากกาประกอบธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่เข้าข่ายเป็นรายได้จากการให้บริการตามข้อ 12/1 ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 จึงไม่ต้องถูกหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามเหตุผลที่สมาคมฯ ได้ชี้แจงประกอบไปด้วยแล้ว
สมาคมฯ จึงหารือว่า ความเห็นของสมาคมฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีการจ่ายค่าบริการที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ให้แก่ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หากผู้จ่ายเงินค่าบริการเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ในอัตรา
ร้อยละ 3.0 ตามข้อ 12/1 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.
2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.101/2544 ฯ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.
2544 อย่างไรก็ดี เฉพาะการจ่ายค่าบริการให้กับธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
ดังกล่าว หากค่าบริการที่ให้บริการในแต่ละครั้ง มีจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาท ผู้จ่ายเงินไม่มีหน้าที่ต้องหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
เลขตู้: 64/30740

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020