เลขที่หนังสือ | : กค 0811/พ.6771 |
วันที่ | : 10 กรกฎาคม 2544 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีผู้ว่าจ้างเป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 79, มาตรา 70, มาตรา 83/6 |
ข้อหารือ | : 1. บริษัทฯ แจ้งว่า บริษัทฯ เป็นตัวแทนของโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษซึ่งไม่มี สถานประกอบการในประเทศไทย ได้รับประมูลงานพิมพ์แสตมป์จาก กสท. เมื่อได้รับงานพิมพ์แสตมป์ ดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จะส่งไปให้โรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษเป็นผู้พิมพ์ เมื่อพิมพ์เสร็จโรงพิมพ์ที่ประเทศ อังกฤษจะส่งงานกลับมายังประเทศไทย โดย กสท. จะเป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้างานพิมพ์ดังกล่าว และ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร โดย กสท. ให้บริษัทฯ สำรองจ่ายค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไปก่อน และจะชำระคืนให้บริษัทฯ ก่อนที่บริษัทฯ จะได้รับค่าจ้างสำหรับงานพิมพ์แสตมป์ดังกล่าว 2. เมื่อ กสท. ได้รับงานพิมพ์แสตมป์ดังกล่าวแล้ว กสท. ให้บริษัทฯ วางบิลโดยแยก ใบกำกับภาษีเป็น 2 ใบ ใบหนึ่งเป็นค่าสินค้าซึ่งไม่รวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะถือว่าได้จ่ายไปแล้ว ตอนนำเข้า อีกใบหนึ่งเป็นค่าบริการบวกด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ จึงหารือว่า บริษัทฯ สามารถ ออกใบกำกับภาษีสำหรับค่าสินค้าโดยแนบหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ กสท. ตอน นำเข้า โดยไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ และเมื่อบริษัทฯ โอนเงินค่าจ้างพิมพ์ไปยังต่างประเทศโดย ถือว่าเป็นการชำระค่าสินค้า บริษัทฯ จะต้องเสียภาษีอื่นใดอีกหรือไม่ อย่างไร |
แนววินิจฉัย | : 1. เมื่อบริษัทฯ ผู้รับจ้าง ได้รับประมูลงานพิมพ์แสตมป์จาก กสท. ผู้ว่าจ้าง บริษัทฯ จะส่ง งานดังกล่าวให้โรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษเป็นผู้พิมพ์ เมื่อพิมพ์เสร็จโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษจะส่งงานพิมพ์ แสตมป์ดังกล่าวกลับมายังประเทศไทย กรณีดังกล่าว หากบริษัทฯ เป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้าและ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร โดยมีหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้บริษัทฯ บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสามารถนำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ ได้ แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษส่งงาน พิมพ์แสตมป์ดังกล่าวกลับมายังประเทศไทย กสท. ผู้ว่าจ้างเป็นผู้กระทำพิธีการนำเข้าและ ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร โดยบริษัทฯ เป็นผู้สำรองจ่ายค่าภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ การนำเข้าแทน กสท. ไปก่อน และ กสท. จะชำระคืนให้บริษัทฯ ในภายหลังก่อนที่บริษัทฯ จะได้รับ ค่าจ้างสำหรับงานพิมพ์แสตมป์ดังกล่าว ดังนั้น กสท. ผู้นำเข้าซึ่งชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อ เจ้าพนักงานศุลกากร สามารถนำหลักฐานใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ กสท. ไปถือเป็น ภาษีซื้อในการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของ กสท. ได้ ตามมาตรา 77/1(11) และมาตรา 77/1(18)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร 2. เมื่อบริษัทฯ ผู้รับจ้าง ได้รับประมูลงานพิมพ์แสตมป์จาก กสท. ผู้ว่าจ้าง การรับจ้างพิมพ์ งานแสตมป์ดังกล่าวเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมุ่งหวัง ผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การให้บริการดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องจัดทำใบกำกับภาษีใน ทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับ สัญญาจ้างระหว่าง กสท. กับบริษัทฯ มิได้ระบุแยกค่าแสตมป์ออกจากค่าบริการ ดังนั้น บริษัทฯ จะต้องนำ มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการให้บริการรับจ้างพิมพ์แสตมป์ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นฐานภาษี มูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยจัดทำใบกำกับภาษีให้แก่ กสท. เมื่อ ได้รับชำระราคาค่าจ้างพิมพ์แสตมป์ 3. กรณีบริษัทฯ แจ้งว่า บริษัทฯ เป็นตัวแทนในประเทศไทยของโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อประมูลงานพิมพ์แสตมป์ได้ บริษัทฯ จะส่งงานพิมพ์แสตมป์ดังกล่าวให้โรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษเป็นผู้ พิมพ์ แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงไม่ปรากฏสัญญาตั้งตัวแทนระหว่างบริษัทฯ กับโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษแต่ อย่างใด ดังนั้น กรณีบริษัทฯ ส่งงานพิมพ์แสตมป์ดังกล่าวที่รับจ้างจาก กสท. ให้โรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษ เป็นผู้พิมพ์นั้นเป็นกรณีบริษัทฯ จ้างโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษให้พิมพ์งานแสตมป์ดังกล่าวต่ออีกทอดหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ กับโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าจ้างกับ ผู้รับจ้าง บริษัทฯ จึงมิใช่ตัวแทนของโรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษแต่อย่างใด เมื่อบริษัทฯ จ่าย เงินได้พึงประเมินสำหรับการจ้างพิมพ์งานแสตมป์ดังกล่าวให้โรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษซึ่งตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เข้าลักษณะเป็นการจ่ายค่าจ้างทำของ ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่าย ให้โรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด 4. เมื่อบริษัทฯ ชำระค่าพิมพ์งานแสตมป์ดังกล่าวให้โรงพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษ เป็นกรณีบริษัทฯ ชำระค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นใน ราชอาณาจักร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.36 นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โรงพิมพ์ที่ ประเทศอังกฤษมีหน้าที่เสียภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/2 วรรคสาม และมาตรา 83/6(2) แห่ง ประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 64/30673 |