เลขที่หนังสือ | : กค 0811/3270 |
วันที่ | : 2 เมษายน 2544 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกสินค้า |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 77/1(13), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และบริษัทฯได้จัดหาสินค้านั้นจากโรงงาน ผู้ผลิตในประเทศโดยให้โรงงานผู้ผลิตส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยตรง ซึ่งโรงงานผู้ผลิตจะ เป็นผู้ดำเนินพิธีการศุลกากรยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของโรงงานผู้ผลิต กรณีดังกล่าว กรมสรรพากร ได้ออกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 เรื่อง การส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับ สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543 วินิจฉัยว่า บริษัทฯเป็นผู้ส่งออกสินค้า ซึ่งได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร และโรงงานผู้ผลิตเป็นผู้ขายสินค้าในราชอาณาจักรให้แก่ บริษัทฯ โรงงานผู้ผลิตจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่ง ประมวลรัษฎากร และบริษัทฯมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปให้แก่โรงงานผู้ผลิตไปถือเป็นภาษีซื้อใน การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งบริษัทฯ ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรโดยมีเหตุผลสำคัญว่า บริษัทฯ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 แต่จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่โรงงานผู้ผลิต ไปก่อนจึงจะมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้นั้น ทำให้บริษัทฯ มีต้นทุนทาง การเงินเพิ่มขึ้น เป็นอุปสรรคในการส่งออกสินค้า |
แนววินิจฉัย | : กรณีบริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ และบริษัทฯ ได้จัดหาสินค้านั้นโดยซื้อ จากโรงงานผู้ผลิตในประเทศ โดยให้โรงงานผู้ผลิตส่งสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยตรง ซึ่ง โรงงานผู้ผลิตจะเป็นผู้ดำเนินพิธีการศุลกากรยื่นใบขนสินค้าขาออกในนามของโรงงานผู้ผลิต ถือว่าบริษัทฯ ซึ่งได้รับคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศเป็นผู้ส่งออกตามมาตรา 77/1(13) แห่งประมวลรัษฎากร และ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีโรงงานผู้ผลิตได้ขายสินค้า ให้แก่บริษัทฯโดยสัญญาซื้อขายกำหนดให้โรงงานผู้ผลิตส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่บริษัทฯกำหนดซึ่งอาจตั้งอยู่ ภายในราชอาณาจักรหรือในต่างประเทศก็ได้ ถือเป็นการขายสินค้าในราชอาณาจักรให้แก่บริษัทฯ โรงงานผู้ผลิตจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยต้องจัดทำใบกำกับภาษีเรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/2 มาตรา 80 และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ซึ่งได้ มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2540 วินิจฉัยไว้แล้ว |
เลขตู้ | : 64/30358 |