เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/2802
วันที่: 23 มีนาคม 2544
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการนับเวลาในการถือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินส่วนแบ่งกำไร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ทวิ (10)
ข้อหารือ: บริษัทหลักทรัพย์ A จำกัด เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 บริษัทฯ มี
รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม และบริษัทฯ ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี
ตามกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ธุรกิจของบริษัทฯ จะเกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อแก่บริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ
รวมทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ลงทุนจะรวมถึงหลักทรัพย์ประเภท
หน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซึ่งจัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535
การลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมนั้น บริษัทฯ จะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินส่วนแบ่งกำไร
บริษัทฯ มีความเข้าใจว่าบริษัทฯ จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินส่วนแบ่งกำไรจาก
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมจำนวนกึ่งหนึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 263) พ.ศ.2536 ต่อเมื่อบริษัทฯ
ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าวครบถ้วนในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่
รายได้นั้นเกิดขึ้น มิฉะนั้นแล้วบริษัทฯ จะต้องนำเงินส่วนแบ่งกำไรทั้งหมดมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้ บริษัทฯ ทราบวิธีการนับระยะเวลา 3 เดือนก่อนวันได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรซึ่งนับแต่วันที่
บริษัทฯ ซื้อหน่วยลงทุนจนถึงวันที่มีเงินได้ส่วนแบ่งกำไร (ซึ่งบริษัทฯ ใช้วันที่ประกาศจ่ายเงินปันผลเป็น
เกณฑ์) แต่บริษัทฯ ยังมีข้อสงสัยในการนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนเป็นระยะเวลา 3 เดือนหลังจาก
วันที่มีเงินได้ โดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทฯ ได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากหน่วยลงทุนในไตรมาสสุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชี
บริษัทฯ ได้ยกตัวอย่างการได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจากหน่วยลงทุนเป็น 3 กรณีดังนี้
กรณีที่ 1
วันที่รับเงิน วันที่ถือหน่วยลงทุน วันที่ ระยะเวลาที่ถือหน่วยลงทุน
ส่วนแบ่งกำไร ครบ 3 เดือน ยื่นแบบ ถึงวันยื่นแบบ
20 พ.ค. 20 ส.ค. 31 ส.ค. ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
20 ธ.ค. 20 มี.ค. 31 พ.ค. ไม่น้อยกว่า 3 เดือน
บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม และยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในวันที่ 31
พฤษภาคม ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปีและสิ้นปี บริษัทฯ มีสิทธิได้รับยกเว้น
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวนกึ่งหนึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว หรือไม่
กรณีที่ 2
วันที่รับเงิน วันที่ถือหน่วยลงทุน วันที่ ระยะเวลาที่ถือหน่วยลงทุน
ส่วนแบ่งกำไร ครบ 3 เดือน ยื่นแบบ ถึงวันยื่นแบบ
20 มิ.ย. 20 ก.ย. 31 ส.ค. น้อยกว่า 3 เดือน
บริษัทฯ ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวยังไม่ครบ 3 เดือนนับจากวันที่มีเงินได้ (วันที่ 20 มิถุนายน)
ในขณะที่บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในวันที่ 31 สิงหาคม แต่บริษัทฯมีเจตนาจะถือหน่วยลงทุนถึง
วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีในวันที่ 31 พฤษภาคม ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี บริษัทฯ
มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวนกึ่งหนึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ
ดังกล่าวหรือไม่
กรณีที่ 3
จากตัวอย่างในกรณีที่ 2 หากบริษัทฯ ขายหน่วยลงทุนไปในวันที่ 5 พฤศจิกายน ในการคำนวณ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี บริษัทฯ มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินส่วนแบ่งกำไร
จำนวนกึ่งหนึ่ง ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าวหรือไม่
วันที่รับเงิน วันที่ถือหน่วยลงทุน วันที่ขาย ระยะเวลาที่ถือหน่วยลงทุน
ส่วนแบ่งกำไร ครบ 3 เดือน ถึงวันยื่นแบบ (31 ส.ค.)
20 มิ.ย. 20 ก.ย. 5 พ.ย. น้อยกว่า 3 เดือน
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น หากบริษัทฯ ถือหน่วยลงทุนที่ก่อให้เกิดเงินส่วนแบ่งของกำไรนับแต่
วันที่ได้หน่วยลงทุนจนถึงวันที่มีเงินได้ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 3 เดือนและถือหน่วยลงทุนนั้นต่อไปไม่น้อยกว่า
3 เดือนนับแต่วันที่มีเงินได้ บริษัทฯ มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินส่วนแบ่งของกำไรที่
ได้จากกองทุนรวมเป็นจำนวนกึ่งหนึ่งตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 263) พ.ศ.
2536 และหากบริษัทฯ ไม่ได้ถือหน่วยลงทุนไว้ครบตามระยะเวลาดังกล่าวบริษัทฯ จะไม่ได้รับสิทธิตาม
พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว โดยไม่คำนึงว่าบริษัทฯ จะได้มีการยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด.51
และ ภ.ง.ด.50) เมื่อใด
เลขตู้: 64/30322

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020