เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.1171
วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2544
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายสินค้าหรือให้บริการกับราชการส่วนท้องถิ่น ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 80/1(4), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2535, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542)
ข้อหารือ: 1. ภาคฯ ได้รับข้อหารือจากจังหวัดในท้องที่ กรณีผู้ประกอบกายขายสินค้าหรือให้บริการกับ
ส่วนราชการส่วนท้องถิ่น ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตามมาตรการเพิ่ม
การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เข้าลักษณะเป็น
การชำระค่าสินค้าหรือบริการ ตามข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับ
ที่ 28) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง
กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ ตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศตาม
มาตรา 80/1 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535 จึงหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีฉบับดังกล่าว ดังนี้
1.1 กรณีผู้ประกอบการได้รับเงินค่าจ้างเหมาจากเงินกู้ดังกล่าว โดยขณะยื่น
แบบแสดงรายการผู้ประกอบการได้แนบสำเนาหนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือบริการจาก
เงินช่วยเหลือต่างประเทศที่หน่วยงานผู้จ่ายเงินออกให้ แต่มิได้แนบสำเนาใบกำกับภาษีผู้ประกอบการจะ
ได้รับสิทธิในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
1.2 กรณีผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการโดยมิได้แนบสำเนาหนังสือรับรองฯ
และสำเนาใบกำกับภาษี ต่อมาเจ้าพนักงานเข้าทำการตรวจสอบ พบว่าผู้ประกอบการมีเอกสารดังกล่าว
ครบถ้วน ผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
1.3 กรณีผู้ประกอบการมิได้นำรายรับตามข้อ 1.1 ไปรวมคำนวณในการยื่น
แบบแสดงรายการในเดือนภาษี ต่อมาได้ยื่นแบบเพิ่มเติม พร้อมกับแนบเอกสารตามประกาศอธิบดีฉบับ
ดังกล่าว ผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
1.4 กรณีผู้ประกอบการได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการจากเงินกู้ดังกล่าว โดย
จัดทำใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 และได้นำไปคำนวณในแบบแสดงรายการพร้อม
ชำระภาษีไว้แล้ว ต่อมาหน่วยงานผู้จ่ายเงินได้เรียกเงินสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระไว้คืน โดยให้
ผู้ประกอบการแก้ไขใบกำกับภาษีให้เป็นอัตราร้อยละ 0 และได้ออกหนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือ
บริการให้กับผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
หรือไม่ และหากได้รับสิทธิผู้ประกอบการจะสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนดังกล่าวได้หรือไม่
1.5 กรณีผู้ประกอบการได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการจากเงินกู้ดังกล่าว โดย
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7.0 และได้ยื่นแบบแสดงรายการพร้อมทั้งชำระภาษีไว้แล้ว ต่อมา
ผู้ประกอบการได้รับหนังสือรับรองฯ โดยวันที่ออกหนังสือเป็นวันหลังจากที่ผู้ประกอบได้ยื่นแบบ ภ.พ.30
และหน่วยงานผู้จ่ายเงินแจ้งให้ผู้ประกอบการส่งคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บ ซึ่งผู้ประกอบการได้ส่ง
คืนเงินภาษีดังกล่าวแล้ว โดยหน่วยงานผู้จ่ายเงินได้ออกเอกสารใบเสร็จรับเงินระบุเป็นค่ารับคืน
ภาษีมูลค่าเพิ่มโครงการเงินกู้พิเศษฯ ให้ผู้ประกอบการไว้เป็นหลักฐาน กรณีดังกล่าวผู้ประกอบการมีสิทธิ
ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากได้ขายสินค้าหรือให้บริการ ตามข้อ 1 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ หรือไม่
2. สำนักงานสรรพากรภาคมีความเห็นว่า
2.1 กรณีตาม 1.1 เนื่องจากผู้ประกอบการมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ข้อ 4 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ให้ครบถ้วน จึงไม่ได้รับสิทธิใน
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
2.2 กรณีตาม 1.2 เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ประกอบการมีหลักฐาน
ครบถ้วนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ ผู้ประกอบการจึงได้รับ
สิทธิในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
2.3 กรณีตาม 1.3 เนื่องจากตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้
ยื่นแบบและชำระภาษีเพิ่มเติมได้ ผู้ประกอบการจึงได้รับสิทธิในการยื่นแบบฯ เพิ่มเติม พร้อมแนบเอกสาร
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ และได้รับสิทธิในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
2.4 กรณีตาม 1.4 ผู้ประกอบการไม่สามารถแก้ไขใบกำกับภาษีให้เป็นอัตรา
ร้อยละ 0 ได้ ตามข้อ 24 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.86/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การ
จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มีลักษณะเป็นแบบ
เต็มรูป จึงต้องยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ให้ถูกต้อง ผู้ประกอบการจึงจะ
ได้รับสิทธิในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 และสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนดังกล่าว
ได้
2.5 กรณีตาม 1.5 ผู้ประกอบการไม่สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ตามนัยข้อ 2 ของหนังสือที่ กค 0811/พ.09004 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2542 ที่กำหนดให้การออก
หนังสือรับรองการชำระสินค้าหรือบริการ จะต้องออกให้เมื่อก่อหนี้ผูกพันหรือเมื่อชำระหนี้
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตาม 1.1 ถึง 1.3 การที่ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือให้บริการกับราชการ
ส่วนท้องถิ่น ตามโครงการเงินกู้เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(4) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ต่อเมื่อราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ได้ออกหนังสือรับรองที่มีรายการตามข้อ 2 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)ฯ แม้ว่าในขณะยื่นแบบแสดงรายการ
ภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดหรือการยื่นแบบเพิ่มเติม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะมิได้แนบสำเนา
หนังสือรับรองฯ หรือสำเนาใบกำกับภาษีมาพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ หากสามารถพิสูจน์ได้ว่า
ราชการส่วนท้องถิ่นคู่สัญญาได้มีการออกหนังสือรับรองการชำระค่าสินค้าหรือบริการจากเงินช่วยเหลือจาก
ต่างประเทศ และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่ง
ประมวลรัษฎากรทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจึงจะได้รับสิทธิเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
2. กรณีตาม 1.4 และ 1.5 ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการจาก
เงินกู้ดังกล่าว โดยได้จัดทำใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 และได้นำไปคำนวณใน
แบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษีไว้แล้ว แม้ต่อมาราชการส่วนท้องถิ่นผู้จ่ายเงินได้ออกหนังสือรับรองให้
ในภายหลัง ถือได้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28)
ฯ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจึงได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
อนึ่ง ใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดไว้ในอัตราร้อยละ 7.0 ถือเป็น
ใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่สามารถแก้ไข
ใบกำกับภาษีดังกล่าวให้เป็นอัตราร้อยละ 0 ได้ ต้องยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและจัดทำใบกำกับภาษี
ฉบับใหม่ให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ตามข้อ 24 และ 25 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 และมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่มี
ลักษณะเป็นแบบเต็มรูป ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 และกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิ
ใช้อัตราร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มิได้ใช้สิทธิดังกล่าวและได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มใน
อัตราร้อยละ 7.0 ของมูลค่าสินค้าหรือบริการจากราชการส่วนท้องถิ่นไปแล้ว ถือว่าผู้ประกอบการ
จดทะเบียนมูลค่าเพิ่มไว้เกิน จึงมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนดังกล่าว โดยยื่นคำร้องตามแบบ ค.10
ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ หรือสำนักงานสรรพากรจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 3 ปี นับแต่
วันที่ได้ชำระภาษีตามมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อส่งคืนให้ราชการส่วนท้องถิ่นผู้จ่ายเงิน
ต่อไป
เลขตู้: 64/30154


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020