เลขที่หนังสือ | : กค 0703/พ./9421 |
วันที่ | : 18 ตุลาคม 2547 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายรับจากการประกอบกิจการ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 79 |
ข้อหารือ | : ตามที่ A เป็นนิติบุคคลตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ไม่เข้าลักษณะ เป็น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร การที่ A มีรายได้จากการ ดำเนินงานของโครงการศูนย์ B คือ ค่าเช่าสถานที่ ค่าบริการพื้นที่ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการ ขายอาหาร ค่าบำรุงสมาชิกสหกรณ์ ค่าซักรีดและค่าบริการอื่น ๆ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าการประกอบกิจการของ A เข้าลักษณะเป็น ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(5) และมาตรา 82 แห่ง ประมวลรัษฎากร ดังนี้ 1. กรณีรายรับที่เป็นค่าเช่าห้องพัก ค่าเช่าห้องประชุม ซึ่งเป็นการให้เช่าในลักษณะเป็น ครั้งคราว ค่าบริการพื้นที่ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าบริการขายอาหาร ค่าบำรุงสมาชิกสหกรณ์ที่ เรียกเก็บจากสมาชิก ค่าซักรีด และบริการอื่น ๆ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร 2. รายรับที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรายรับที่เป็นค่าเช่าสถานที่ หาก A มีการให้เช่า พื้นที่ภายในอาคาร เช่น ให้เช่าพื้นที่ทำร้านค้าต่าง ๆ ภายในอาคารดังกล่าวซึ่งมีลักษณะเป็นการให้ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและผู้เช่าตกลงจะจ่ายค่าเช่า อสังหาริมทรัพย์นั้น โดยผู้ให้เช่าต้องส่งมอบการครอบครองพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าจะเข้าลักษณะ เป็นการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ต) แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่ถ้าไม่มีการส่งมอบการครอบครองไม่ถือว่าเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ แต่จะ ถือว่าเป็นการให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 3. การประกอบกิจการของ A ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการ ประกอบกิจการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย ตามมาตรา 81(1)(ท) แห่งประมวลรัษฎากร จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม A มีข้อโต้แย้งว่าในส่วนของค่าบำรุงสมาชิกสหกรณ์นั้น A มิได้ดำเนินการเรียกเก็บจากสหกรณ์ อันเนื่องจากการประกอบการและมิได้เกิดจากการประกอบกิจการของศูนย์ B หรือส่วนงานอื่น ๆ ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของ A แต่อย่างใด แต่เป็นรายได้ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสหกรณ์ซึ่งประกอบการมี กำไรสุทธิประจำปีต้องส่งให้แก่ A ตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ซึ่งสรุปความ ว่า ในการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีของสหกรณ์ให้จัดสรรเป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของ กำไรสุทธิและเป็นค่าบำรุง A ไม่เกินร้อยละห้าของกำไรสุทธิแต่ต้องไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการ พัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนด ปัจจุบันคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติกำหนดให้สหกรณ์ต้อง เสียค่าบำรุงไม่เกิน 10,000 บาท หากสหกรณ์ใดประกอบการขาดทุนก็ไม่จำต้องนำส่งค่าบำรุงในส่วนนี้ นอกจากค่าบำรุงในส่วนนี้แล้ว A หรือส่วนงานอื่น ๆ ของ A ก็ไม่มีรายได้อื่นใด ดังนั้น A จึงไม่ต้องเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของค่าบำรุง A เพราะมิใช่รายได้ที่เกิดจากการประกอบการแต่เป็นรายได้ตาม กฎหมายและ A ก็มิใช่ผู้ประกอบการแต่อย่างใด |
แนววินิจฉัย | : กรณีค่าบำรุง A ที่เป็นรายได้ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสหกรณ์ซึ่งประกอบการมี กำไรสุทธิประจำปีต้องส่งให้แก่ A ตามมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 นั้น เมื่อ สหกรณ์จ่ายค่าบำรุง A แล้ว ย่อมก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์เป็นกรณีพิเศษแตกต่างจากสหกรณ์ที่ไม่ได้เป็น สมาชิก A ทั้งนี้ ตามมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เช่น สหกรณ์จะได้รับการ ส่งเสริมและเผยแพร่กิจการสหกรณ์ตลอดจนทำการวิจัยและรวบรวมสถิติเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์ สหกรณ์จะ ได้รับการส่งเสริมธุรกิจการค้า อุตสาหกรรมหรือบริการของสหกรณ์ และมี A เป็นตัวแทนของสหกรณ์เพื่อ รักษาผลประโยชน์อันพึงมีพึงได้จากการสนับสนุนของรัฐ องค์การระหว่างประเทศหรือภาคเอกชนอื่น เป็นต้น ซึ่งถือว่าสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเป็นบริการของ A เพื่อประโยชน์สำหรับกิจการของสหกรณ์ โดยตรง ดังนั้น ค่าบำรุง A จึงเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบกิจการ ของ A ซึ่งถือเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร A ต้องนำค่าบำรุง A มารวม คำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่มีบทบัญญัติใดตามกฎหมายที่ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แต่ประการใด |
เลขตู้ | : 67/33171 |