เลขที่หนังสือ | : กค 0706(กม.07)/พ./868 |
วันที่ | : 13 ตุลาคม 2547 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 83/4 มาตรา 84 มาตรา 84/1 |
ข้อหารือ | : 1. บริษัท ก (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบกิจการส่งออก ขายส่งสินค้า จากการตรวจ ปฏิบัติการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ สำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2542, กันยายน 2542,มีนาคม 2543, กันยายน 2543, มีนาคม 2544, กันยายน 2544 และมีนาคม 2545 รวม 7 เดือนภาษี (เดือนที่นำส่งภาษีตามแบบ ภ.พ.36) พบว่า บริษัทฯ นำใบเสร็จรับเงินที่เกิดจากการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) มาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนที่บริษัทฯ ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเดือนก่อนการยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) จึง เป็นเหตุให้บริษัทฯ แสดงภาษีซื้อไว้เกินไปในเดือนที่มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ปี 2542 2545 รวม ยอดซื้อที่แจ้งไว้เกินจำนวน 205,623,197.20 บาท ภาษีซื้อ 14,393,623.82 บาท เบี้ยปรับหนึ่งเท่า 14,393,623.82 บาท เงินเพิ่ม 4,837,764.66 บาท รวม 33,625,012.30 บาท บริษัทฯ ได้ ชำระภาษีและเงินเพิ่ม จำนวน 19,259,799.12 บาทแล้ว สำหรับเบี้ยปรับอยู่ระหว่างการพิจารณางด เบี้ยปรับภาษีอากรของคณะกรรมการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร 2. บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้อง ค.10 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2545 เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม เดือนที่ระบุไว้ในใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรรวม 7 เดือน รวมเป็นเงินที่ขอคืน จำนวนเงิน 10,721,173.69 บาท (เกิน 3 ปี 1 ฉบับ จำนวนเงิน 3,672,450.13 บาท) 3. การยื่นคำร้อง ค.10 ของบริษัทฯ ตามข้อ 1.2 ถือเป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539 ได้หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีที่บริษัทฯ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อตามมาตรา 77/1(18)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร และใบเสร็จรับเงินที่กรมสรรพากรออกให้สำหรับการรับชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังกล่าวถือเป็นใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทมีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายในเดือนที่มีการนำส่งภาษี 2. บริษัทฯ ได้นำภาษีซื้อตาม 4.1 ไปถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีที่บริษัทฯ ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นคนละเดือนภาษีกับเดือนภาษีที่นำส่ง จึงเป็นการไม่ถูกต้อง เป็นผลให้บริษัทฯ แสดงภาษีซื้อไว้เกิน ไปในเดือนภาษีที่จ่ายค่าลิขสิทธิ์ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2545 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับภาษีซื้อในเดือนภาษีที่ได้แจ้งไว้เกินไปทั้ง 9 ฉบับ รวมเงินเพิ่ม จำนวน 19,259,799.12 บาท ตามใบเสร็จเลขที่ 032761-032769 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2545 ส่วนเบี้ยปรับได้รับการพิจารณางดเบี้ยปรับภาษีอากรจากคณะกรรมการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากรแล้วตามหนังสือที่ กค 0729/1075 ลงวันที่ 29 มกราคม 2546 3. บริษัทฯ ไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม เพื่อแสดงภาษีซื้อแจ้งไว้ขาดไป ในเดือนภาษีที่มี การนำส่งภาษี แต่ได้ยื่นแบบ ค.10 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2545 เพื่อขอคืนภาษีซื้อจากการนำส่ง ภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ข้าพเจ้าเห็นว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรเป็นภาษีซื้อ ตามมาตรา 77/1(18)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร และใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรถือเป็น ใบกำกับภาษีตามมาตรา 77/1(22) และมาตรา 86/14 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากบริษัทฯ มิได้ นำภาษีซื้อดังกล่าวมาใช้เป็นภาษีซื้อและหักเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ.30 ของเดือนภาษีตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร และบริษัทฯ ประสงค์จะขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ จะต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมสำหรับเดือนภาษีตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรตามมาตรา 83/4 แห่งประมวลรัษฎากร และมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการยื่นแบบเพิ่มเติมนั้น ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร ภายในสามปีนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการสำหรับเดือนภาษีนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 84/1 แห่งประมวลรัษฎากร 4. กรณีบริษัทฯ ได้ยื่นคำร้อง ค.10 ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมิได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม ในเดือนภาษีที่มีการนำส่งภาษีนั้น ไม่ถือว่าบริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม ตามมาตรา 83/4 แห่ง ประมวลรัษฎากร เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 67/33177 |