เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/11364
วันที่: 24 ธันวาคม 2547
เรื่อง: ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีขายที่
ข้อกฎหมาย: มาตรา 91/2(6), พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541
ข้อหารือ: นาย ก. ได้ขายที่ดินให้กับผู้ซื้อ 4 ราย รวม 5 แปลง ได้โอนขายเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม
2547 จำนวน 3 ราย และโอนรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2547 เจ้าพนักงานเรียกเก็บ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 44,833.00 บาท จากการขายที่ดินตามโฉนดทั้ง 4 ราย โดย
โฉนดที่ดินทั้ง 4 ราย ได้เปลี่ยนมาจาก น.ส.3 ก มาเป็นโฉนดก่อนที่จะขาย โดยก่อนเป็นโฉนดนาย ก.
ได้รับมรดกจากภรรยา (ผู้ตาย) จำนวน 3 ไร่เศษ จนถึงวันที่ขายถือครองมาเกิน 5 ปี ส่วนอีก 3 ไร่
เศษ เป็นของนาง ค. เป็นผู้ขายให้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 นาย ก. จึงหารือว่าหากจะเสียภาษี
ธุรกิจเฉพาะก็ควรจะเสียเฉพาะกรณีที่ซื้อมาจากนาง ค. จำนวน 3 ไร่เศษเท่านั้น
แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริง ที่ดินที่นาย ก.ได้รับมรดกจากภรรยา (ตาย) ตามคำพิพากษาของศาล
ตามหมายเลขคดีแดงที่ 261/41 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งมีบันทึกไว้หลัง
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก) จำนวนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ และได้แบ่งแยกออกจาก น.ส.3 ก
มาขอออกโฉนดภายหลัง ถือว่าที่ดินดังกล่าวได้รับโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์มา
โดยทางมรดก ดังนั้น เมื่อขายที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาทางมรดก ซึ่งไม่เข้า
ลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 4(6)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(6) แห่ง
ประมวลรัษฎากร แต่ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องชำระอากรแสตมป์ตามลักษณะแห่งตราสาร 28.
แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ส่วนกรณีที่นาย ก. ได้ขายที่ดินที่ซื้อจากนาง ค. เนื้อที่จำนวน 3 ไร่เศษ และถือครองไม่ถึง
5 ปีนับแต่วันที่ได้ที่ดินนั้นมา การขายที่ดินดังกล่าวถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่
ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4(6) แห่ง
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541
เลขตู้: 67/33247

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020