เลขที่หนังสือ | : 0702/2065 | วันที่ | : 9 มีนาคม 2561 | เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสวัสดิการพนักงาน
| ข้อกฎหมาย | : มาตรา 42 (17),มาตรา 65 ตรี (3) มาตรา 65 ตรี (13),มาตรา 70 (1), และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
| ข้อหารือ | | 2. บริษัทฯ ระบุสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ โดยระบุไว้ในคู่มือพนักงาน ซึ่งการให้สวัสดิการดังกล่าวเป็นการให้สวัสดิการโดยทั่วไปแก่พนักงานทุกคน ดังนี้
2.1 การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัทฯ พนักงานประจำของบริษัทฯ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด
2.2 การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ พนักงานประจำของบริษัทฯ และสมาชิกครอบครัวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด
2.3 เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร พนักงานประจำของบริษัทฯ ทั้งหญิงและชาย สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด
2.4 เงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรม โดยพนักงานที่ไม่สามารถมีบุตรได้เอง
ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด
2.5 การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรแบบกลุ่ม และการจ่ายเบี้ยประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต สูญเสียอวัยวะบางส่วน หรือทุพพลภาพถาวร ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น
2.6 การจ่ายค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรงแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์
โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบโรคร้ายแรงที่ระบุในกรมธรรม์ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น
บริษัทฯ จึงหารือว่า พนักงานบริษัทฯ ที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวข้างต้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำผลประโยชน์ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
และบริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการให้สวัสดิการแก่พนักงานดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
แนววินิจฉัย | | 1. กรณีการตรวจสุขภาพประจำปีตาม 2.1 และเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรตาม 2.3
หากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปและเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ ถือเป็น
ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้าง
จ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน
ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย
ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (4) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
2. กรณีค่าฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งมิใช่วัคซีนที่ใช้รักษาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ตาม 2.2 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามข้อ 2 (4) (ก)
ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
3. กรณีเงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรมตาม 2.4 มิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อ
เสียภาษีเงินได้ ตามข้อ 2 (4) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร
4. กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกันตาม 2.5 และ 2.6 หากบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันดังกล่าว ได้รับยกเว้นตามข้อ 2 (77) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ
5. กรณีบริษัทฯ จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สวัสดิการดังกล่าวที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป บริษัทฯ มีสิทธินำเงินที่จ่ายไปนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้ | : 81/40595 |