เมนูปิด

          ธนาคาร ก. (ธนาคารฯ) เป็นสถาบันการเงินของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) สำหรับการให้บริการเช่าพื้นที่และบริการด้านสาธารณูปโภค โดยการให้บริการดังกล่าว สาขาของธนาคารฯ ไม่ได้ดำเนินการ จึงไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ธนาคารฯ จึงขอหารือ ดังนี้


          1. กรณีสาขาของธนาคารฯ ไม่มีการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม สาขาของธนาคารฯ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้มีเลขที่ของสาขาหรือไม่


          2. กรณีสาขาของธนาคารฯ มีการซื้อขายสินค้าหรือรับบริการและได้รับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ใบกำกับภาษีดังกล่าวจะต้องระบุชื่อและที่อยู่ของธนาคารฯ สำนักงานใหญ่หรือสาขาของธนาคารฯ

          1. กรณีตาม 1. เนื่องจากสาขาของธนาคารฯ มิได้ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สาขาของธนาคารฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/1(5) และ (20) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด


          2. กรณีตาม 2. เนื่องจากสาขาของธนาคารฯ ไม่ใช่สถานประกอบการตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 20) ดังนั้น ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการจึงไม่ต้องระบุข้อความคำว่า "สาขาที่ .."ในใบกำกับภาษีให้แก่สาขาของธนาคารฯ ทั้งนี้ ตามข้อ 9(2) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 39) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 199) เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เลขที่หนังสือ: กค 0702/5956 วันที่: 14 กรกฏาคม 2559 เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจดทะเบียนสาขาของธนาคาร ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(5) และ (20) แห่งประมวลรัษฎากร ข้อหารือแนววินิจฉัยเลขตู้: 79/40147

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020