เมนูปิด


          1. เมื่อประมาณปลายปี 2537 บริษัท เค. จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอเช่าที่ดินไปยังบริษัท จ. จำกัด เจ้าของที่ดิน แต่บริษัท จ. จำกัด แจ้งว่า ได้ตกลงทำสัญญาให้เช่าที่ดินนั้นแก่ บริษัท A. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศแล้วตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2537 บริษัท เค.ฯ จึงได้ไปติดต่อ บริษัท A. เพื่อขอรับโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าว ซึ่ง บริษัท A. ก็ได้ตกลงทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวให้กับบริษัท เค.ฯ และบริษัท โรงพยาบาล ก. เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2538 โดยบริษัท เค.ฯ และบริษัท โรงพยาบาลฯ มีกรรมการผู้มีอำนาจของแต่ละฝ่ายลงนามใน

ประเทศไทย ส่วน บริษัท A. มี B. กรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงนามในประเทศสิงคโปร์โดยลำดับ โดยสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวได้ระบุว่าให้สัญญามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและผูกพันคู่สัญญาตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2538 ซึ่งเป็นวันที่ระบุในสัญญา โดยทางสำนักงานฯ หรือผู้ทำการแทนไม่ได้ลงนามด้วยในสัญญาแต่อย่างใด นอกจากเพียงให้ความเห็นในการร่างสัญญาให้แก่บริษัท เค.ฯ ซึ่งเป็นลูกความของสำนักงานฯเท่านั้น


          2. บริษัท เค.ฯ ซึ่งเป็นลูกความของสำนักงานฯ ได้ว่าจ้างให้สำนักงานฯ ในฐานะที่ปรึกษากฎหมาย ช่วยจัดเตรียมเอกสารและนำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวที่ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งหมดแล้ว ไปจดทะเบียนกับกรมที่ดิน โดยมีการระบุชื่อนาย ก. ช่างเรียน

ซึ่งเป็นทนายความประจำสำนักงานฯ ในขณะนั้น เป็นผู้รับมอบอำนาจจาก บริษัท A. ในการนำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียน ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 25 พฤษภาคม 2538 โดยลำดับ ทั้งนี้ ก็เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจดทะเบียนสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดิน ประกอบกับ บริษัท A. มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย จึงไม่มีบุคคลในประเทศไทยที่จะระบุในใบมอบอำนาจ ซึ่งในทางปฏิบัตินั้น กรมที่ดินต้องการให้มีเอกสารใบมอบอำนาจทั้งจากผู้เช่าและผู้ให้เช่า รวมทั้งผู้โอนสิทธิการเช่าและผู้รับโอนสิทธิการเช่าเพื่อประกอบการจดทะเบียน

แต่อย่างใด แต่สัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดินมีผลสมบูรณ์และสามารถใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาแล้วนับแต่วันที่คู่สัญญาได้ตกลงกันและลงนามในสัญญาก่อนหน้าไปจดทะเบียนสัญญาโอนสิทธิการเช่าดังกล่าว

ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่านาย ก.ฯ เป็นลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทยของ บริษัท A. อันเป็นเหตุให้ บริษัท A. ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค 0706/770
วันที่: 28 มกราคม 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีผู้ทำการแทนของบริษัทต่างประเทศตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ประเด็นปัญหา: มาตรา 76 ทวิ
            บริษัท A จำกัด (“สำนักงาน”) ซึ่งเป็นสำนักงานกฎหมายแจ้งว่า ลูกความรายหนึ่งคือ บริษัท เค. จำกัด (มหาชน) ได้ว่าจ้างให้สำนักงานฯ เป็นที่ปรึกษากฎหมายในการจดทะเบียนการเช่าและโอนสิทธิการเช่าที่ดิน โดยปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้คือ
แนววินิจฉัย          เนื่องจากบริษัท เคฯ และ บริษัท A. ได้ตกลงทำสัญญาระหว่างกัน โดยบริษัท เคฯ และบริษัท โรงพยาบาลฯ มีกรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงนามในประเทศไทย และ บริษัท A. มี B. กรรมการผู้มีอำนาจลงนามในประเทศสิงคโปร์ โดยมิได้มีผู้ทำการแทนหรือเข้ามาดำเนินการในประเทศไทยแต่อย่างใด และการที่นาย ก. ทนายความประจำสำนักงานฯ เป็นผู้รับมอบอำนาจของ บริษัท A. ไปดำเนินการจดทะเบียนสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาโอนสิทธิการเช่าที่ดิน ณ กรมที่ดิน นั้น เป็นเพียงเพื่อให้สัญญาดังกล่าวใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีและใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การจดทะเบียนดังกล่าวมิใช่เป็นแบบของความสมบูรณ์ตามกฎหมายของนิติกรรมบางประเภทที่กฎหมายบังคับให้ต้องจดทะเบียน ดังเช่นสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
เลขตู้: 68/33303

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020