เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./11232 |
ลงวันที่ | : 21 ธันวาคม 2547 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการเจียระไนเพชรให้แก่บริษัทแม่ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ |
ประเด็นปัญหา | : มาตรา 77/2(1) มาตรา 80(2) |
บริษัทฯ ได้ส่งหนังสือลงวันที่ 19 สิงหาคม 2547 หารือกรมสรรพากร โดยมี Align: Fontface: Size: Color:CenterRightLeftDefaultTimesVerdanaArialDefault1: Small2: Medium3: Larข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ ประกอบกิจการรับจ้างเจียระไนเพชร ตัดเพชร ได้ นำเข้าเพชรดิบจากบริษัท อีจำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ ตั้งอยู่ในประเทศอิสราเอล เพื่อนำมาเจียระไน เมื่อเจียระไนเพชรเสร็จแล้วบริษัทแม่จะมีคำสั่งด้วยใบ Transfer Order ให้ทางบริษัทฯ นำส่งเพชรที่เจียระไนแล้วให้แก่บริษัท เอฟ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย?เพื่อนำไปประกอบเป็นตัวเรือน โดยบริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษี ให้แก่บริษัทแม่เพื่อเรียกเก็บค่าบริการ แต่ระบุในใบกำกับภาษีว่าสินค้าส่งไป บริษัท เอฟ จำกัด และไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม และจัดทำใบ Order Received เพื่อเป็นหลักฐานการรับสินค้า เมื่อบริษัท เอฟ จำกัด ประกอบตัวเรือนเรียบร้อยก็จะส่งออก โดยดำเนินพิธีการศุลกากร ซึ่งระบุใบขนสินค้าขาออกเป็นชื่อบริษัท เอฟ จำกัด แต่มีการสลักในใบขนสินค้าขาออกว่าขอโอนสิทธิในการตัดเพชรจำนวน กะรัต ให้แก่บริษัทฯ ตามบัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ บริษัทฯ จึงหารือว่ากรณีบริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีให้บริษัทแม่โดยตรง แต่ส่งสินค้าไปที่บริษัท เอฟ จำกัด และบริษัท อี.เอฟ จำกัด ส่งออกสินค้าตามข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัทฯ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 0 หรือไม่ | |
แนววินิจฉัย | กรณีบริษัทฯ นำเข้าเพชรดิบจากบริษัท อี จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศอิสราเอล เพื่อนำมาเจียระไน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จบริษัทฯ จะโอนสินค้าให้แก่บริษัท เอฟ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยเพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้าและบริษัท เอฟ จำกัด จะส่งสินค้าดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรไปยังบริษัท อี จำกัด และบริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าบริการรับจ้างเจียระไนเพชรจากบริษัท อี จำกัด การกระทำของบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรและนำผลไปใช้ในการผลิตสินค้าในราชอาณาจักร บริษัทฯ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80(2) แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 67/33234 |