เมนูปิด

ศูนย์บริหารเงิน เพื่อกำหนดข้อปฏิบัติสำหรับบุคคลที่ขออนุญาตและบุคคลที่ได้รับอนุญาตเป็น

ศูนย์บริหารเงิน โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป และ ธปท. ได้ออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับ

ศูนย์บริหารเงิน ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 เพื่อให้อนุญาตแก่บริษัททั่วไปประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินต่างประเทศและเงินบาทให้แก่บริษัทในเครือหรือบริษัทที่เกี่ยวเนื่อง


          ศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center) จะทำหน้าที่บริหารจัดการทางการเงินในลักษณะคล้ายกับธนาคารพาณิชย์ แต่จำกัดเฉพาะลูกค้าที่อยู่ในกลุ่มบริษัทของตนเท่านั้น โดย “กลุ่มบริษัท” หมายถึง บริษัทในเครือ (มีบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50) หรือบริษัทที่มีธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างกัน (มีบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20) ซึ่งได้มอบหมายให้ศูนย์บริหารเงินทำหน้าที่บริหารจัดการเงินตราต่างประเทศแทนตน

กฎหมายไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ และได้รับใบอนุญาตเป็นศูนย์บริหารเงินจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร

          ภายใต้ขอบเขตธุรกรรมของศูนย์บริหารเงินที่ได้รับอนุญาตข้างต้น จะมีภาระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องดังนี้

          1. การรับซื้อภาระผูกพันหรือเอกสารเรียกเก็บเงินสกุลเงินต่างประเทศจากกลุ่มบริษัทเป็นเงินบาท และรับจ่ายเงินตราต่างประเทศกับคู่ค้าในต่างประเทศ

             1.1 กรณีการรับซื้อภาระผูกพันหรือเอกสารเรียกเก็บเงินสกุลเงินตราต่างประเทศจากกลุ่มบริษัท หรือกรณี Re-invoicing ซึ่งศูนย์บริหารเงินอาจจ่ายเงินบาทให้แก่กลุ่มบริษัทตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกัน แล้วจึงเรียกเก็บเงินตราต่างประเทศตามอินวอยซ์จากลูกค้าในต่างประเทศ หรืออาจเป็นกรณีศูนย์บริหารเงินรับชำระเงินบาทจากกลุ่มบริษัท แล้วจึงชำระเงินตราต่างประเทศให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ โดยในการรับซื้ออินวอยซ์ดังกล่าวจะไม่มีดอกเบี้ยหรือส่วนลดแต่อย่างใดทั้งนี้ การโอนภาระผูกพันหรือสิทธิเรียกร้องตามอินวอยซ์จะมีผลให้ภาระหน้าที่ในการชำระหรือ

เรียกเก็บเงินตามอินวอยซ์ และความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มบริษัทถูกโอนไปให้กับศูนย์บริหารเงิน สำหรับค่าตอบแทนที่ศูนย์บริหารเงินจะได้รับนั้น อาจอยู่ในรูปของค่าธรรมเนียม

ในการรับโอนภาระหน้าที่และความเสี่ยงต่าง ๆ ข้างต้นจากกลุ่มบริษัท และศูนย์บริหารเงินยังอาจ

มีกำไรในรูปของส่วนต่างระหว่างราคารับซื้ออินวอยซ์กับเงินที่เรียกเก็บได้จริงซึ่งเป็นกำไรที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

                (1) หากศูนย์บริหารเงินเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการรับซื้อภาระผูกพันหรือเอกสารเรียกเก็บเงินสกุลเงินตราต่างประเทศดังกล่าวข้างต้น จากกลุ่มบริษัท เข้าลักษณะเป็นรายรับจากการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร

ศูนย์บริหารเงินต้องนำค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/5(5) แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อกลุ่มบริษัทฯ จ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้แก่ศูนย์บริหารเงิน

เข้าลักษณะเป็นการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ที่เป็นค่าบริการ

กลุ่มบริษัทผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

                (2) เมื่อกลุ่มบริษัทโอนภาระผูกพันหรือสิทธิเรียกร้องตามอินวอยซ์ดังกล่าวที่มีต่อคู่ค้าในต่างประเทศให้ศูนย์บริหารเงิน เป็นเพียงการเปลี่ยนตัวผู้จ่ายหรือผู้รับชำระเงินตาม

อินวอยซ์เท่านั้น แต่มิได้กระทบกับสิทธิและหน้าที่อื่นที่มีตามสัญญาเดิมระหว่างกลุ่มบริษัทกับคู่ค้าในต่างประเทศแต่อย่างใด ดังนั้น การโอนภาระผูกพันหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวของกลุ่มบริษัท

ไม่ถือเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

                (3) หลังจากที่ศูนย์บริหารเงินได้รับโอนอินวอยซ์มาแล้ว ในการจ่ายหรือเรียกเก็บเงินตามอินวอยซ์ หากมีกำไรจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อเป็นเงินบาทกับราคาที่ได้รับชำระจริงเป็นเงินตราต่างประเทศ ส่วนต่างดังกล่าวถือเป็นกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการแลกเปลี่ยน

หรือซื้อขายเงินตรา เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร ศูนย์บริหารเงินต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากฐานกำไรก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 91/5(5) แห่งประมวลรัษฎากร

             1.2 กรณีศูนย์บริหารเงินรับเป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัทในการรับหรือจ่ายเงินตราต่างประเทศกับบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศ โดยศูนย์บริหารเงินไม่ได้รับโอนความเสี่ยงใด ๆ เมื่อศูนย์บริหารเงินได้รับค่าตอบแทนจากกลุ่มบริษัทในรูปของค่าธรรมเนียมตัวแทน เข้าลักษณะเป็นค่าบริการ

ที่ได้รับจากการให้บริการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

ศูนย์บริหารเงินต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งออกใบกำกับภาษีให้กลุ่มบริษัท ตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร และในการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวกลุ่มบริษัทผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

          2. กรณีศูนย์บริหารเงินจัดการหักกลบลบหนี้ภาระผูกพันสกุลเงินตราต่างประเทศระหว่างกลุ่มบริษัทกับคู่ค้าในต่างประเทศ (Netting) ซึ่งดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการชำระหนี้ระหว่าง

กลุ่มบริษัทกับคู่ค้าในต่างประเทศนั้น กรมสรรพากรมิได้มีข้อบังคับเพื่อจำกัดวิธีการชำระเงิน

แต่อย่างใด หากไม่ขัดกับกฎหมายอื่น ย่อมสามารถเลือกปฏิบัติอย่างไรก็ได้ แต่สำหรับในการคำนวณภาษีอากรของกลุ่มบริษัทนั้น ไม่สามารถนำรายรับและรายจ่ายของต่างบริษัทกันมาหักกลบลบกันได้ จึงต้องพิจารณาแยกเป็นรายบริษัท และหากธุรกรรมรายใดอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ ฐานภาษีที่ใช้ในการคำนวณต้องพิจารณาเป็นรายธุรกรรมไป

          3. กรณีศูนย์บริหารเงินเข้าทำธุรกรรมบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

              3.1 กรณีศูนย์บริหารเงินเข้าทำธุรกรรมบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเอง โดยมีเงื่อนไขว่าศูนย์บริหารเงินจะสามารถทำธุรกรรมเพื่อบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้เฉพาะกับนิติบุคคลรับอนุญาตในประเทศเท่านั้น เข้าลักษณะ

เป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร

ต้องคำนวณเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากฐานกำไรก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 91/5(5) แห่งประมวลรัษฎากร

             3.2 กรณีศูนย์บริหารเงินรับบริหารความเสี่ยงแทนกลุ่มบริษัท โดยเข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงในฐานะตัวแทนของกลุ่มบริษัท ซึ่งศูนย์บริหารเงินไม่ได้รับความเสี่ยงใด ๆ หาก

มีผลกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกรรมดังกล่าว กลุ่มบริษัทจะเป็นผู้รับไป เมื่อศูนย์บริหารเงินได้รับค่าตอบแทนจากกลุ่มบริษัทในรูปของค่าธรรมเนียม เข้าลักษณะเป็นค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ศูนย์บริหารเงินต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งออกใบกำกับภาษี

ให้กลุ่มบริษัทตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ในการจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวกลุ่มบริษัท

ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร

ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

          4. กรณีศูนย์บริหารเงินรับจัดการบริหารสภาพคล่อง โดยนำเงินของตนเอง หรือ

กู้ยืมเงินจากภายในกลุ่มบริษัท หรือกู้ยืมจากนิติบุคคลรับอนุญาต มาปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มบริษัท

เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร ดอกเบี้ยที่เกิดจากการให้กู้ยืมต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/5(5) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดี หากการให้กู้ยืมรายใดเข้าลักษณะเป็นการให้กู้ยืมของบริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.26/2534 เรื่อง ดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ตามมาตรา 91/5(5) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าวไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี

ธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด

          5. กรณีศูนย์บริหารเงินรับจัดทำบัญชีของกลุ่มบริษัท เข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ศูนย์บริหารเงินต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ของค่าบริการ พร้อมทั้งออกใบกำกับภาษีให้กลุ่มบริษัทตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร

          ในส่วนของภาษีเงินได้ ผลตอบแทนที่ศูนย์บริหารเงินได้รับจากการรับจ้าง

ทำบัญชีโดยใช้ความรู้ความสามารถพิเศษทางด้านบัญชี ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6)

แห่งประมวลรัษฎากร กลุ่มบริษัทผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3

ตามข้อ 7 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

เลขที่หนังสือ: กค 0706/5302
วันที่: 28 มิถุนายน 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีผู้ประกอบกิจการศูนย์บริหารเงิน
ประเด็นปัญหา: มาตรา 65 มาตรา 77/2 และมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร
           กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่
แนววินิจฉัย          ศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นศูนย์กลางการรับและจ่ายเงินตราต่างประเทศและบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน รวมไปถึงการบริหารจัดการสภาพคล่องของกลุ่มบริษัทด้วย โดยมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตาม
เลขตู้: 68/33467

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020