|
เลขที่หนังสือ | : กค 0706/4619 | |
วันที่ | : 7 มิถุนายน 2548 | |
เรื่อง | : สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ | |
ประเด็นปัญหา | : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548
| |
| 1. ข้อความที่ว่า หนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 หมายความว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อความที่ขีดเส้นใต้ดังกล่าว หากลูกหนี้รายหนึ่ง สถาบันการเงินได้จัดชั้นเป็นหนี้สงสัยไว้ตั้งแต่ปี 2545 และได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยการผ่อนชำระหนี้เรื่อยมา จนที่สุดสถาบันการเงินเจ้าหนี้ได้ปรับการจัดชั้นใหม่เป็นสินทรัพย์กล่าวถึงเป็นพิเศษ ในปี 2547 ต่อมาลูกหนี้ขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยการโอนขายหลักประกันชำระหนี้ให้สถาบันการเงินอีกครั้ง ในเดือนมกราคม 2548 ลูกหนี้รายดังกล่าวจะเข้าตามนิยามตามประกาศหรือไม่ เพราะเหตุใด และอยากทราบแนวทางการตีความกฎหมายในเรื่องนี้เพื่อจะใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง
| 2. ข้อความว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 คำว่า หนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ นั้น จะให้ตีความในทำนองที่ว่า หากสถาบันการเงินได้จัดชั้นลูกหนี้ที่มีสินเชื่อหลายบัญชี แตกต่างกัน ตัวอย่างคือ บัญชีเงินกู้ จัดชั้นสงสัยไว้ตั้งแต่ปี 2546 บัญชีกู้เบิกเงินเกินบัญชี
จัดชั้นควรสนใจเป็นพิเศษ ในปี 2547 หากมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในปี 2548 ลูกหนี้รายนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไร
3. แบบฟอร์มหนังสือรับรองแนบท้ายประกาศซึ่งมีปัญหาการตีความในข้อ 3. ตอนท้ายที่ว่า ตามรายละเอียดประเภทสินเชื่อ
เลขที่บัญชี
จำนวนเงิน
บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
บาท คำว่า จำนวนเงิน
บาท จะให้ตีความว่าหมายถึง จำนวนเงินที่เป็นหนี้กัน หรือจำนวนวงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้การสนับสนุนแก่ลูกหนี้
4. แบบฟอร์มหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน
ซึ่งแนบท้ายประกาศฉบับดังกล่าว จากข้อความตามข้อ 3 ของแบบฟอร์ม ตอนท้ายที่ว่า ราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนและนิติกรรมเป็นจำนวนเงิน
บาท การตีความราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จะถือตามราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน หรือราคาประเมินที่สถาบันการเงินว่าจ้างให้บริษัทประเมินราคาได้ประเมินราคาหลักทรัพย์ไว้เป็นราคาที่ถูกต้อง
|
แนววินิจฉัย | 1. กรณีตาม 1. หากมีการทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ใหม่หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ฉบับเดิมหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 และปรากฏว่าหนี้ด้อยคุณภาพดังกล่าวถูกจัดชั้นเป็นหนี้ด้อยคุณภาพหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะเคยถูกจัดชั้นเป็นหนี้ด้อยคุณภาพก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งแล้วหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากเป็นกรณี NPL re-entry
| 2. กรณีตาม 2. สถาบันการเงินได้จัดชั้นลูกหนี้ที่มีสินเชื่อหลายบัญชีแตกต่างกัน เช่น บัญชีเงินกู้ จัดชั้นสงสัยตั้งแต่ปี 2546 บัญชีกู้เบิกเงินเกินบัญชี จัดชั้นควรสนใจเป็นพิเศษในปี 2547 หากมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในปี 2548 ลูกหนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเฉพาะหนี้แต่ละบัญชีของลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เท่านั้น
3. ตามแบบฟอร์มหนังสือรับรองหนี้ที่ต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 433) พ.ศ. 2548 ในข้อ 3 ตอนท้ายที่ว่า ตามรายละเอียดประเภทสินเชื่อ
และที่บัญชี
จำนวนเงิน
บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
บาท
คำว่า จำนวนเงิน
บาท ดังกล่าว หมายความว่า จำนวนเงินที่เป็นหนี้กัน
4. ตามหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงินฯ ใน
ข้อ 3 ราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต้องถือราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินหรือราคาประเมินที่สถาบันการเงินว่าจ้างให้
บริษัทประเมินราคาได้ประเมินราคาหลักทรัพย์ไว้ กรณีดังกล่าวต้องถือราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดิน
|
เลขตู้ | : 68/33437 |