เมนูปิด

กรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ ข้อ 4(2)(3)

 


          1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณี N จ่ายเงินค่าดอกเบี้ยหุ้นกู้ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) ให้แก่ผู้ถือหุ้น N มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 4(2) และ (3) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2548ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ดังนั้น หาก N ได้มีการทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนในประเทศไทยสำหรับการจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ดังกล่าว ให้ตัวแทนในประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับดอกเบี้ยหุ้นกู้แทน โดยตัวแทนจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในนามของ N และต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในนามของ N ด้วย


          2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม


             2.1 กรณี N ออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย N ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด


             2.2 กรณี N ได้มีการทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนในประเทศไทยสำหรับการจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตัวแทนในประเทศไทยตามมาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร ตัวแทนซึ่งเป็นผู้ให้บริการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก N

ในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร


          3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณี N ออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทย N ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด


          4. อากรแสตมป์ หากการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทของ N ในประเทศไทย จะต้องมีการทำตราสารและ N เป็นผู้ที่ต้องเสียอากรตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์แห่งประมวลรัษฎากร ให้ N มี

หน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706(กม.03)/496
วันที่: 9 มิถุนายน 2548
เรื่อง: ภาษีที่เกี่ยวกับการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทของธนาคารต่างประเทศ
ประเด็นปัญหา: มาตรา 40(4)(ก), มาตรา 50(2) มาตรา 77/2(1) มาตรา 82/3 มาตรา 82/4 และคำสั่ง
           กรณี N ได้แสดงความจำนงในการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทในตลาดทุนของประเทศไทย ภาระภาษีและหน้าที่การนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของ N เป็นอย่างใด
แนววินิจฉัย          กรณี N ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศได้แสดงความจำนงในการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทในตลาดทุนไทย N จะมีภาระภาษีดังนี้
เลขตู้: 68/33452

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020