เมนูปิด

ตกทอดให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญระบุตามข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์พนักงานฯ การท่าเรือฯ จึงหารือว่า


          1. เงินบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้แก่ทายาทหรือบุคคลที่ผู้รับบำนาญระบุไว้ตามข้อ 15 ของข้อบังคับฯ จะถือว่าเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(12) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่

          2. เงินบำเหน็จตกทอดดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรประเภทใด ถือเป็นเงินได้ของใคร มีหลักเกณฑ์การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย อย่างไร และต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่

แต่อย่างใด


          2. กรณีตาม 2. เมื่อการท่าเรือฯ จ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทของพนักงานการท่าเรือฯ ผู้ตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตายเนื่องจากมิใช่ทรัพย์สินของผู้ตายขณะที่ถึงแก่ความตาย

แต่บำเหน็จตกทอดที่การท่าเรือฯ ได้จ่ายไปเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ตาย การท่าเรือฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ในนามของผู้ตายตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยทายาทของผู้ตายมีหน้าที่ต้อง

ยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินดังกล่าวของผู้ตายตามมาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/3050
วันที่: 19 เมษายน 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดของพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ประเด็นปัญหา: มาตรา 42(12) มาตรา 50(1) และมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
           เมื่อพนักงานที่รับเงินเป็นรายเดือนถึงแก่กรรม การท่าเรือฯ ได้จ่ายเงินบำเหน็จ
แนววินิจฉัย          1. กรณีตาม 1. การท่าเรือฯ จ่ายบำเหน็จตกทอดให้แก่ทายาทของพนักงานการท่าเรือฯ ผู้ตาย ตามข้อ 15 ของข้อบังคับฯ ไม่เข้าลักษณะเป็นบำเหน็จตกทอด อันจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(12) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวจะต้องเป็นบำเหน็จตกทอดที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และในขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้เงินได้พึงประเมินดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
เลขตู้: 68/33368

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020