เมนูปิด


          1. การที่บริษัทฯ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินได้ให้กับพนักงาน เป็นการถูกต้องตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเสียภาษีเงินได้และและการขยายระยะเวลาชำระภาษี สำหรับผู้ที่ต้องออกจากราชการ หรือออกจากงานโดยไม่มีความผิด

ลงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2525 หรือไม่


          2. กรณีที่บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่ได้ทำการหักไว้ บริษัทฯ หรือพนักงานจะต้องดำเนินการอย่างไร จึงจะขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหักไว้ได้


          2. กรณีผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้โดยไม่มี

หน้าที่ต้องหักนำส่งผู้มีเงินได้มีสิทธิขอคืนภาษีที่ถูกหักไว้ โดยต้องยื่นคำร้องขอคืนภายในสามปี

นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

 

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/3367
วันที่: 4 มีนาคม 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหาย
ประเด็นปัญหา: มาตรา 50(1)
           พนักงานของบริษัทฯ ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่า บริษัทฯ เลิกจ้างพนักงานอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้บริษัทฯ รับพนักงานกลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหาย โดยใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันรับกลับเข้าทำงาน บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายเงินให้พนักงานจำนวนดังกล่าว และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน บริษัทฯ จึงหารือว่า
แนววินิจฉัย          1. เงินได้ที่บริษัทฯ จ่ายเป็นค่าจ้างแรงงานของพนักงานตั้งแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันกลับเข้าทำงาน เข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33388

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020