เมนูปิด

          จึงขอหารือว่า

          1. บริษัทฯ ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ถูกต้องหรือไม่

          2. กรณีนาง ป. มีเงินได้ซึ่งคำนวณเป็นอัตราร้อยละจากยอดขายประกันชีวิตในแต่ละเดือน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร และหากมีรายรับเกิน 1,200,000 บาทต่อปี นาง ป. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ถูกต้องหรือไม่

 

การที่นาง ป. ได้รับเงินประจำตำแหน่งอีกเดือนละ 7,000 บาท ซึ่งมิใช่ค่าตอบแทนจากการ

จ้างแรงงาน หากแต่เป็นเงินที่บริษัทฯ ประกันชีวิตจ่ายให้เพิ่มเติม เนื่องจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต เงินประจำตำแหน่งดังกล่าวจึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย ดังนั้น ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวจึงต้องระบุประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร


          2. กรณีนาง ป. ประกอบกิจการเป็นตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต รายรับที่เกิดจากการประกอบกิจการรวมทั้งเงินประจำตำแหน่งถือเป็นรายรับจากการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม

มาตรา 77/2(1) แห่งประมวลรัษฎากร หากมีรายรับเกิน 1,200,000 บาท ต่อปี (1,800,000 บาท

ต่อปี ตั้งแต่ 1 เมษายน 2548 เป็นต้นไป) นาง ป. มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./3071
วันที่: 20 เมษายน 2548
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินได้จากกิจการตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
ประเด็นปัญหา: มาตรา 40(2) มาตรา 85/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
           นาง ป. ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทประกันชีวิต ตำแหน่งผู้จัดการภาค ได้รับเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 7,000 บาท และได้รับเงินซึ่งคำนวณเป็นอัตราร้อยละของยอดขายประกันชีวิตในแต่ละเดือน ซึ่งมีจำนวนไม่แน่นอน ในปีภาษี 2545 นาง ป. มีเงินได้พึงประเมินจำนวน 1,258,270 บาท ซึ่งนาง ป. อ้างว่าเป็นเงินได้จากเงินเดือนทั้งจำนวน และบริษัทฯ ได้ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยระบุประเภทเงินได้พึงประเมินที่จ่ายเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งจำนวน และหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้จำนวน 122,918 บาท นาง ป. อ้างว่าลักษณะการทำงาน คือ การปฏิบัติงานได้มีการลงลายมือชื่อในสมุดการลงเวลาของบริษัทฯ และกรณีที่ออกหาลูกค้าต่างท้องที่ บริษัทฯ ให้สิทธิไม่ต้องลงลายมือชื่อในสมุดลงเวลาได้ ส่วนการรับเงินเดือนจากบริษัทฯ ในแต่ละเดือน จะได้รับสลิปเงินเดือนเป็นหลักฐานทุกครั้ง เงินได้จากการปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวจึงถือว่าเป็นเงินเดือน
แนววินิจฉัย          1. กรณีนาง ป. มีเงินได้พึงประเมินจากการเป็นตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต ตำแหน่งผู้จัดการภาคอาวุโสโดยได้รับเงินได้ซึ่งคิดเป็นร้อยละของยอดขายในแต่ละเดือนซึ่งมีจำนวนไม่แน่นอน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33371

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020