เมนูปิด

ชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานฯ ได้รับเอกสิทธิ์และการอำนวยความสะดวกเท่ากับผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยภายใต้แผนการโคลัมโบ (Colombo Plan) ศูนย์ฯ จึงขอทราบว่า Mr. S. จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ซึ่งเป็นเงินค่าจ้าง เงินเพิ่ม และเงินได้ต่าง ๆ ตามหนังสือแลกเปลี่ยนและตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499 หรือไม่ อย่างไร

 

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4695
วันที่: 9 มิถุนายน 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเอกสิทธิ์ของพนักงานอาวุโสของศูนย์ฯ
ประเด็นปัญหา: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499
           รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่ง Mr.S. ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเศรษฐกิจการประมง ให้เข้ามาปฎิบัติงานชั่วคราวที่สำนักงานฯ ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2546 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2548 และได้รับการขยายเวลาให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวต่อไปอีก 1 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2548 ถึงวันที่ 15 เมษายน 2549 โดยศูนย์ฯ ได้รับเอกสิทธิ์ตามหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับศูนย์ฯ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2513 ที่ระบุให้เจ้าหน้าที่ระดับหัวหน้า รองหัวหน้า และเจ้าหน้าที่
แนววินิจฉัย          เนื่องจากข้อ 4 ของหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับศูนย์ฯ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2513 ระบุให้เอกสิทธิ์และการอำนวยความสะดวกแก่หัวหน้า รองหัวหน้า และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของสำนักงานฝ่ายฝึกอบรมของศูนย์ฯ เท่ากับผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยภายใต้แผนการโคลัมโบ และตามคำแปลหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่าง ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ฯพณฯ เอกอัครราชทูตอังกฤษเรื่องการยกเว้นภาษีอากรให้ผู้เชี่ยวชาญตามแผนโคลัมโบ ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2505 ระบุให้โครงการความร่วมมือทางวิชาการแห่งแผนการโคลัมโบ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งให้เอกสิทธิ์ในการยกเว้นการจดทะเบียนคนต่างด้าว การยกเว้นภาษีเงินค่าจ้าง เงินเพิ่ม และเงินได้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากประเทศของตน และภาษีศุลกากรสำหรับการนำเข้าสิ่งของส่วนตัวและของใช้ในบ้านเรือนภายใน 3 เดือน นับแต่เดินทางมารับหน้าที่ครั้งแรก ดังนั้น Mr. S. ซึ่งดำรงตำแหน่งพนักงานอาวุโส จึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ซึ่งเป็นเงินค่าจ้าง เงินเพิ่ม และเงินได้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากประเทศตน ตามหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2499
เลขตู้: 68/33443

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020