|
เลขที่หนังสือ | : กค 0706/5352 | |
วันที่ | : 29 มิถุนายน 2548 | |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณียกเว้นภาษีเงินได้ของคนประจำเรือ
| |
ประเด็นปัญหา | : มาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบข้อ 2(39) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
| |
| บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่งทางทะเลตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ. 2521 โดยประกอบกิจการให้บริการขนส่งและ
| ขนถ่ายสินค้า ด้วยเรือเดินทะเลทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ บริษัทฯ จึงหารือเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีคนประจำเรือได้รับเงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับจากการปฏิบัติงานบนเรือเดินทะเล ดังนี้
1. กรณีเรือรับขนส่งสินค้าภายในประเทศตลอดปี คนที่ปฏิบัติงานบนเรือจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
2. กรณีเรือรับขนส่งสินค้าสลับกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศตลอดปี คนที่ปฏิบัติงานบนเรือจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
3. กรณีเรือรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตลอดปี คนที่ปฏิบัติงานบนเรือจะได้รับ
ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
4. กรณีเคยได้ข้อมูลว่าการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรือต้องวิ่งต่างประเทศตลอดปีโดยไม่เข้าท่าเรือของไทย มีหลักกฎหมายใดให้การสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว
|
แนววินิจฉัย | 1. กรณีตามข้อ 1 และ ข้อ 2 บริษัทฯ ได้ใช้เรือไทยรับขนส่งสินค้าภายในประเทศตลอดปีและใช้เรือไทยรับขนส่งสินค้าสลับกันทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศตลอดปี การรับขนส่งสินค้าดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับขนส่งสินค้าภายในราชอาณาจักร เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับ ไม่เข้าลักษณะตามข้อ 2(39) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126(พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2509
|
2. กรณีตาม ข้อ 3 และ ข้อ 4 บริษัทฯ ได้ใช้เรือไทยรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยมีการรับสินค้าจากท่าเรือต่าง ๆ ในประเทศไทยเพื่อส่งไปยังต่างประเทศ เงินได้ส่วนที่เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับ เป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(39) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 126
(พ.ศ. 2509)ฯ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509
|
เลขตู้ | : 68/33469 |