|
เลขที่หนังสือ | : กค 0706/4942 | |
วันที่ | : 15 มิถุนายน 2548 | |
เรื่อง | : อากรแสตมป์ กรณีขอยกเว้นเงินเพิ่ม
| |
ประเด็นปัญหา | : มาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
| |
| นาย ส. หารือกรณีขอยกเว้นเงินเพิ่มอากรแสตมป์สรุปข้อเท็จจริงได้ว่า นาย ส.
| ได้ขายที่ดินเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 และวันที่ 3 ธันวาคม 2545 หนังสือสัญญาขายที่ดินเฉพาะส่วนรวมสี่โฉนด จำนวนเงิน ราคา 44,079,300.- บาท รวมราคาขายที่ดินเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น88,158,600.- บาท นาย ส. ได้ชำระค่าธรรมเนียมในการขายที่ดินและภาษีอากรไว้ที่สำนักงานที่ดิน จำนวน 2,817,626 บาท ซึ่งต่อมานาย ส. ทราบว่ามีการระบุข้อเท็จจริงในบันทึกข้อตกลงกรรมสิทธิ์รวมไว้คลาดเคลื่อน เนื่องจากในช่วงปลายปี 2545 มีผู้ซื้อขายที่ดินมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก
เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนขึ้น ในสัญญาระบุว่าแบ่งแยกเพื่อขาย แต่โดยแท้จริงแล้วเป็นการแบ่งแยกเพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงิน นาย ส. จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไข
ต่อสำนักงานที่ดิน ซึ่งสำนักงานที่ดินได้แก้ไข และได้แจ้งให้นาย ส. ทราบว่าต้องชำระค่าอากรแสตมป์ พร้อมเงินเพิ่ม ซึ่งนาย ส. ยินดีที่จะชำระค่าอากรแสตมป์ตามราคาขายที่ดิน แต่ขอยกเว้นเงินเพิ่ม เนื่องจากนาย ส. มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงค่าอากรแสตมป์แต่อย่างใด จะเสียเงินเพิ่มอากรน้อยกว่า กรณีดังกล่าวเป็นอำนาจของอธิบดีที่จะพิจารณาอนุมัติให้ลดเงินเพิ่มได้ตามข้อ 3 วรรค 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว
|
แนววินิจฉัย | กรณีที่นาย ส. ขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องเสียอากรแสตมป์แต่นาย ส. ไม่ได้เสียอากรแสตมป์ไว้ ดังนั้น นาย ส. จะต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 113 แห่งประมวลรัษฎากร
| แต่เนื่องจากการไม่ได้เสียอากรแสตมป์ดังกล่าวมิใช่ความผิดของนาย ส. แต่เป็นความเข้าใจผิดของเจ้าพนักงานที่ดิน และนาย ส. ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระค่าอากรแสตมป์ กรณีมีเหตุอันสมควรขยายกำหนดเวลาการชำระอากรแสตมป์ตามที่ร้องขอตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้ยื่นแบบชำระอากรเป็นตัวเงินตามมาตรา 116 แห่งประมวลรัษฎากร ณ
ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สำนักงานตั้งอยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงานสรรพากรภาค โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มแต่อย่างใด
|
เลขตู้ | : 68/33454 |