เมนูปิด

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 351)
พ.ศ. 2542
--------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2542
เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน

                      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า

                      โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ผู้โอนหลักทรัพย์ เฉพาะการ โอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์

                      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย และมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

                      มาตรา 1  พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 351) พ.ศ.2542

                      มาตรา 2  พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

                      มาตรา 3  ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (30) ของมาตรา 6 แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 345) พ.ศ.2541

                      (30) ผู้โอน เฉพาะการโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่บุคคลซึ่งได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์สำหรับ การโอนหลักทรัพย์นั้น

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการยกเว้น อากรแสตมป์ให้แก่ผู้โอนหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ เพื่อส่งเสริมกิจการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อมาคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ได้อนุญาตให้บุคคลอื่นเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ได้ แต่การโอนหลักทรัพย์ กับนายทะเบียนหลักทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีภาระที่จะต้องเสียอากรแสตมป์ จึงทำให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมกับผู้โอนหลักทรัพย์ในกรณีดังกล่าว สมควรยกเว้นอากรแสตมป์ให้แก่ผู้โอนหลักทรัพย์ เฉพาะการโอนหลักทรัพย์จดทะเบียนที่บุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและส่งเสริม การประกอบการให้บริการเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

 

(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 20 ก วันที่ 25 มีนาคม 2542)

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 10-02-2022