เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706(กม.04)/653
วันที่: 28 กรกฏาคม 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ข้อกฎหมาย: ประเด็นปัญหา มาตรา 47(1)(ข) และ (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกาศอธิบดี (ฉบับที่ 136)
ข้อหารือ

: บริษัท จำกัด ได้หารือเกี่ยวกับการหักลดหย่อนภาษีตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 36) พ.ศ. 2548 ดังนี้
           1. กรณีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดา ที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้มีเงินได้ฝ่ายเดียวและบิดาหรือมารดาฝ่ายที่มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิในการหักลดหย่อนตามมาตรา 47(1 )(ข) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับสามีหรือภริยาประจำปี 2547 จากฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ไปแล้วนั้น บุตรโดย ชอบด้วยกฎหมายที่ได้อุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือมารดาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามความเป็นจริง จะมีสิทธิหัก ลดหย่อน ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดาหรือมารดา ตามเงื่อนไขในมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ อีกหรือไม่ อย่างไร
           2. ในการกรอกและยื่นหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.03) ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น บุตรผู้มีเงินได้จำเป็นที่จะต้องแนบเอกสารอื่น ๆ อาทิ ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อสกุล หรือ ใบทะเบียนสมรสของตนเพิ่มเติมหรือไม่ และสำหรับกรณีของบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้
ที่มีบิดาหรือมารดาหรือทั้งบิดามารดามีฐานะเป็นบุคคลต่างด้าวจะต้องดำเนินการอย่างไร

แนววินิจฉัย:           1. ตามมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า “ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้ หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ให้หักลดหย่อนได้อีก ดังต่อไปนี้
                (1) หักลดหย่อนให้สำหรับ
                      (ก) ...
                      (ข) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ...
                      (  ) ...
                      (ญ) ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามี หรือภริยาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท ... ”
                 ตามบทบัญญัติในมาตรา 47 แห่งประมวลรัษฎากรดังกล่าว เป็นการกำหนดให้ผู้มีเงิน ได้
มีสิทธิ หักค่าลดหย่อนได้ทั้งสองกรณีตามมาตรา 47(1)(ข) และ (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้ย่อม
มีสิทธินำมาหักลดหย่อนได้ตามหลักเกณฑ์ในแต่ละกรณี
                  ดังนั้น กรณีบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีเงินได้ฝ่ายเดียว และบิดาหรือ มารดาฝ่ายที่มีเงินได้ใช้สิทธิของผู้มีเงินได้หักลดหย่อนคู่สมรสของตนตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 47(1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร บุตรผู้มีเงินได้ย่อมมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ตามมาตรา 47(1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ได้อีก
           2. กรณีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูตามแบบ ล.ย.03 ตามประกาศกรมสรรพากร เรื่อง หลักฐานการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ตามมาตรา 47(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 กำหนดให้ยื่นหลักฐานตามแบบ ล.ย.03 โดยไม่ต้องแนบเอกสารอื่น แต่อย่างไร
ก็ ตาม หากรายการที่แสดงไว้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเช่นชื่อตัวหรือนามสกุลเป็นต้น เพื่อประโยชน์ของ
ผู้มีเงินได้จะแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนั้นด้วยก็ได้
                  สำหรับกรณีที่บิดามารดาเป็นบุคคลต่างด้าว หากบิดามารดาซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าว นั้น
มีเลขประจำตัวประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร บุตรผู้มีเงินได้ย่อมมีสิทธิหักลดหย่อน
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136)ฯ ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548
เลขตู้: 68/33506

 

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020