เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/7022
วันที่: 22 สิงหาคม 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีไม่สามารถนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายภายในกำหนดเวลา
ข้อกฎหมาย: ประเด็นปัญหา มาตรา 17, มาตรา 27, มาตรา 35, มาตรา 50, มาตรา 52 และมาตรา 69
แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ

:           องค์การบริหารส่วนตำบล ต. ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ให้กรมสรรพากรได้ภายในกำหนดเวลาเป็นประจำทุกเดือน เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นได้หมดวาระลงเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2548 ทำให้ไม่มีผู้ลงนามในการสั่งจ่ายเช็คครบตามเงื่อนไขแห่งระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ข้อ 37 ซึ่งทำให้ต้องรับผิดเสียค่าปรับอาญาและเงินเพิ่มในการชำระภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไม่ทันภายในกำหนดเวลา (ภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2548) จึงขอหารือดังนี้
            1. กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลฯ เป็นผู้ช่วยหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนกรมสรรพากรและเป็นส่วนราชการด้วยกัน ดยติดขัดระเบียบกฎหมายไม่ใช่ความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ จะขอยกเว้นค่าปรับ ได้ หรือไม่
            2. หากสามารถดำเนินการตาม 1. ได้ขอให้แจ้งแนวทางให้ทราบด้วย

แนววินิจฉัย:            กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลฯ ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 และมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และต้องนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังกล่าว ภายใน 7 วันนับแต่
วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้ การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 แต่องค์การบริหารส่วนตำบลฯ ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 ,000 บาท ตามมาตรา 17 และมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรไม่อาจยกเว้นเงินเพิ่มและค่าปรับให้ได้แต่อย่างใด
เลขตู้: 68/33525

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020