พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 365) พ.ศ. 2543 -------------------------- ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 เป็นปีที่ 55 ในรัชกาลปัจจุบัน | |||
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้กิจการขายอสังหาริมทรัพย์บางกรณีเป็นกิจการ ที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 91/3(7) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 365) พ.ศ. 2543 มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2541 เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (15) ของมาตรา 3 แห่งพระราช กฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจ เฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความ ในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 361) พ.ศ. 2542 (15) กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เฉพาะที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษี ธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจาก (ก) การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหา ริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ใน สัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ข) การขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อ รวมระยะเวลาการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝาก และระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแก้ไข เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการขายฝาก ตามมาตรา 492 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยกำหนดให้ทรัพย์สินที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่หรือ วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ จึงมีผลทำให้การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่ อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนด ไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ ไถ่จากการขายฝากภายในห้าปี เป็นการประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือ หากำไร ตามมาตรา 91/2(6) แห่งประมวลรัษฎากร และอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจ เฉพาะ ดังนั้น เพื่อให้ผู้ซื้อฝากซึ่งเป็นผู้รับไถ่ และผู้ขายฝากที่ขายอสังหาริมทรัพย์หลังจาก การไถ่ถอนการขายฝากดังกล่าวไม่มีภาระภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมก่อนมีการแก้ไขเพิ่มเติมในเรื่อง ดังกล่าว สมควรกำหนดให้กรณีการรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากหรือการไถ่อสังหา ริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการวางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดไว้ ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และกรณีการขายอสังหาริมทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่ จากการขายฝาก ซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาของการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝากและระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี เป็น กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ |
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 117 ตอนที่ 19 ก วันที่ 14 มีนาคม 2543)