เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/1160
วันที่: ลว. 10 กุมภาพันธ์ 2549
เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษและเงินทดแทน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(1) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ: รัฐวิสาหกิจได้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษและเงินทดแทนให้ทายาทของนาย ช. พนักงาน
ซึ่งถึงแก่กรรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
1. เงินบำเหน็จพิเศษจ่ายให้เป็นจำนวนเงิน 30 เท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้ายตาม
ข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงินบำเหน็จ พ.ศ. 2528
2. เงินทดแทนจ่ายให้อัตราร้อยละหกสิบของเงินค่าจ้างรายเดือนตามข้อบังคับฯ
ว่าด้วยเงินค่าทดแทน พ.ศ. 2540
การจ่ายเงินทั้ง 2 กรณี จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และมีวิธีการคำนวณอย่างไร
แนววินิจฉัย: 1. เงินบำเหน็จพิเศษและเงินทดแทนตามข้อเท็จจริง เข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจาก
การจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา
42(12) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อมีการจ่ายเงินได้ดังกล่าว ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เงินทดแทนที่องค์การฯ จ่ายให้แก่ทายาทของพนักงานเป็นกรณีที่จ่ายให้ตามข้อบังคับฯ
ว่าด้วยเงินทดแทน พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงาน จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้
เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ของนาย ช. ผู้ตาย เมื่อมีการจ่าย
เงินดังกล่าว ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 69/33876

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020