เลขที่หนังสือ | : กค 0706/1314 |
วันที่ | : ลว. 16 กุมภาพันธ์ 2549 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากการขายลูกหนี้เงินกู้ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : บริษัท ท. จำกัด (บริษัทฯ) ประกอบกิจการเกี่ยวกับโทรคมนาคมและมีวัตถุประสงค์ในการ ให้กู้ยืมเงินด้วย ได้จัดตั้งบริษัท ว. จำกัด (บริษัทย่อย) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (บริษัทฯ ถือหุ้น ในบริษัทย่อย 100%) บริษัทย่อยได้กู้เงินจากบริษัทฯ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจของบริษัทย่อย ปัจจุบันบริษัทย่อยประสบผลขาดทุนติดต่อกันจนไม่สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย และได้ หยุดประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ในช่วงปี 2546 โดยหนี้เงินกู้ดังกล่าวบริษัทฯ ยังคงรับรู้รายได้ ดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเพื่อคำนวณกำไรสุทธิและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงหารือว่า 1. ในกรณีที่บริษัทฯ ขายลูกหนี้เงินกู้บริษัทย่อยดังกล่าวจำนวนเงินประมาณ 221 ล้านบาท ออก ไปให้กับนิติบุคคลอื่นแห่งหนึ่งที่มารับซื้อในราคา 10 บาท จะทำให้บริษัทฯ สามารถตัดจำหน่ายหนี้ สูญสำหรับหนี้ที่ให้บริษัทย่อยกู้เงินไปเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ขายลูกหนี้เงินกู้บริษัทย่อยออกไป ถูกต้องหรือไม่ 2. หากไม่ถูกต้องบริษัทฯ ต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะสามารถรับรู้หนี้ดังกล่าวเป็นรายจ่ายในการ คำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากบริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการขายลูกหนี้ เงินกู้บริษัทย่อยดังกล่าวจริง |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีการขายลูกหนี้เงินกู้บริษัทย่อยจำนวนเงินประมาณ 221 ล้านบาท ออกไปให้กับนิติบุคคล อื่นในราคา 10 บาท ผลขาดทุนดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขที่จะถือเป็นรายจ่ายจากการจำหน่ายหนี้สูญตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2534 2. กรณีที่จะนำลูกหนี้เงินกู้บริษัทย่อยดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ จะต้องดำเนินการดังนี้ 2.1 จำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของบริษัทฯ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534)ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2538 2.2 ขายลูกหนี้เงินกู้บริษัทย่อยออกไปตามราคาตลาดในวันที่โอนขาย และเกิดผลขาดทุน จากการขายลูกหนี้ดังกล่าว |
เลขตู้ | : 69/33889 |