เลขที่หนังสือ | : กค 0706/1500 |
วันที่ | : ลว. 22 กุมภาพันธ์ 2549 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญตามนโยบาย สถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One Presence) |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 ตรี (1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : บริษัทเงินทุน ธ. ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจทางการเงิน ตามแผนการปรับ โครงสร้างการประกอบธุรกิจสถาบันการเงินของกลุ่ม ธ. ที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2548 อันเป็นการดำเนินการตามแนวนโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ (One presence) ของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวง การคลัง การดำเนินการตามแผนดังกล่าว บริษัทเงินทุนฯ จะต้องคืนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจเงินทุน ให้แก่กระทรวงการคลังภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2548 และกำหนดเงื่อนไขในการให้ ความเห็นชอบหรือโอนกิจการหรือโอนทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมดหรือบางส่วนของบริษัทเงินทุนฯ ให้แก่ธนาคาร น.. ดังต่อไปนี้ 1. กำหนดขอบเขตการประกอบธุรกิจของบริษัท ธ. จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะแปรสภาพจากบริษัท เงินทุนฯ เป็น Holding Company ดังนี้ (1) รับชำระหนี้และติดตามหนี้เฉพาะส่วนของลูกหนี้ที่ขอคงไว้ที่บริษัท ธ. 7 ประเภท ได้แก่ ลูกหนี้เช่าซื้อ ลูกหนี้สินเชื่อบุคคล (Smart Cash และสินเชื่อสารพัดนึก) เงินให้กู้ยืมที่รับโอนมาจาก สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ ลูกหนี้ที่มีปัญหายุ่งยากในการดำเนินคดี เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหาร สินทรัพย์ ม. จำกัด เงินให้กู้ยืมแก่สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน และลูกหนี้ด้อยคุณภาพอื่น เพื่อทยอย ชำระคืนแก่ธนาคาร น. โดยจะให้สินเชื่อหรือก่อภาระผูกพันเพิ่มเติมไม่ได้ (2) บริษัท ธ. ต้องจัดชั้นและกันสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สำหรับเงินให้กู้ยืมแก่ลูกหนี้ ที่ขอคงไว้ 7 ประเภท (ข้อ 1(1) ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นเดียวกับธนาคาร น. บริษัทฯ เห็นว่า การทำรายการทางภาษีสำหรับเงินสำรองที่กันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัย จะสูญตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ภายหลังบริษัทเงินทุนฯ คืนใบอนุญาตการ ประกอบธุรกิจเงินทุน ดังนี้ 1. จำนวนเงินสำรองที่ได้ตั้งไว้ก่อนที่บริษัทเงินทุนฯ คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน ถือเป็นการตั้งสำรองในขณะที่บริษัทเงินทุนฯ สภาพเป็นบริษัทเงินทุน ซึ่งเงินทุนสำรองส่วนที่ตั้ง เพิ่มขึ้น ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ล่วงมาแล้ว ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม มาตรา 65 ตรี (1)(ค) วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไปแล้ว บริษัท เงินทุนฯ ไม่ต้องนำเงินสำรองดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่บริษัท เงินทุนฯ คืนใบอนุญาตการประกอบธุรกิจเงินทุน แม้ว่าบริษัทเงินทุนฯ จะไม่มีสภาพเป็นบริษัท เงินทุนแล้วก็ตาม 2. ภายหลังคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน เงินสำรองตามข้อ 1 มีจำนวนลดลง บริษัท ธ. จำกัด (มหาชน) จะนำเงินสำรองเฉพาะส่วนที่ตั้งลดลงจากสำรองที่บริษัทเงินทุนฯ ได้ตั้งไว้ นำมา รวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลง ตามมาตรา 65 ตรี(1)(ค) แห่ง ประมวลรัษฎากร |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตาม 1 บริษัทเงินทุนฯ ต้องเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัท ธ. จำกัด (มหาชน) ภายใต้ นโยบายสถาบันการเงิน 1 รูปแบบ One presence และบริษัทเงินทุนฯ ต้องคืนใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจเงินทุนให้กับกระทรวงการคลังภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน 2548 เงินสำรองที่กัน ไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้ก่อนที่บริษัทเงินทุนฯ คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ เงินทุน ซึ่งเงินสำรองฯ ส่วนที่ตั้งเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ล่วงมาแล้ว บริษัทเงินทุนฯ ได้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไปแล้ว เงินสำรองดังกล่าว ให้คงเดิมไว้บริษัท ธ. จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องบวกกลับเป็นรายได้ 2. กรณีตาม 2 ภายหลังบริษัทเงินทุนฯ คืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุน เงินสำรองตามข้อ 1 มีจำนวนลดลง เนื่องจากมีการชำระหนี้ให้บริษัท ธ. จำกัด (มหาชน) ให้นำเงินสำรองที่ตั้งลดลงซึ่งได้ ถือเป็นรายจ่ายไปแล้วนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ตั้งเงินสำรองลดลงนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ตรี (1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 69/33906 |