เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./8845
วันที่: 25 ตุลาคม 2548
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีได้รับเงินเพิ่มพิเศษจากการขายสินค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(2)(8) มาตรา 77/1(10) มาตรา 77/2(1) มาตรา 86/9
ข้อหารือ: บริษัทฯ ได้รับเงินเพิ่มพิเศษจากการขายสินค้าให้ลูกค้า (ผู้ซื้อสินค้า) ซึ่งมี
ข้อเท็จจริงดังนี้
1. บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 1
มกราคม 2535 ประกอบกิจการขายส่งไม้ยูคาลิปตัส
2. บริษัทฯ ขายไม้ให้กับบริษัท ส. เพียงรายเดียวเท่านั้น ลักษณะการ
ประกอบกิจการของบริษัทฯ จะรับซื้อไม้จากบุคคลธรรมดาทั่วไปโดยให้บุคคล
เหล่านั้นนำไม้ที่บริษัทฯ รับซื้อไปส่งที่โรงงานของบริษัท ส. โดยตรง บริษัท ส. จะ
ออกใบรับสินค้าซึ่งระบุปริมาณไม้ มอบให้ผู้ที่นำส่งไม้นั้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการ
รับเงินจากบริษัทฯ ราคาไม้ที่บริษัทฯ จ่ายจะเท่ากับราคาไม้ที่บริษัทฯ ขายให้บริษัท
ส. จึงเป็นกรณีบริษัทฯ ขายไม้ในราคาทุน เนื่องจาก บริษัท ส. จะกำหนดราคารับ
ซื้อไม้โดยการติดประกาศไว้หน้าโรงงาน เรียกว่า ราคารับซื้อไม้หน้าโรงงาน ซึ่งจะ
แตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของไม้และระยะทางที่นำไม้มาขาย ปัจจุบันราคา
ประมาณตันละ 750-780 บาท ไม่ว่าบุคคลใดนำไม้มาขาย บริษัท ส. จะรับซื้อตาม
ราคาที่กำหนดไว้
3. นอกจากราคารับซื้อไม้ที่บริษัท ส. ชำระแล้ว ยังมีข้อตกลงพิเศษ คือ
หากบริษัทฯ สามารถขายไม้ให้กับ บริษัท ส. ได้เดือนละ 2,000 ตัน ขึ้นไป จะได้รับ
เงินเพิ่มพิเศษอีกโดยกำหนดค่าตอบแทนเป็นราคาต่อตันตามจำนวนที่จัดส่งไม้ได้
ทั้งหมดในราคาตันละ 20-30 บาท ซึ่งค่าตอบแทนนี้เป็นราคาที่นอกเหนือจากการ
รับซื้อไม้ตามปกติ ตั้งแต่เริ่มดำเนินกิจการบริษัทฯ สามารถขายไม้ได้เกินกว่า
จำนวนที่บริษัท ส. กำหนดทุกเดือน ค่าตอบแทนดังกล่าวบริษัทฯ จะออกใบกำกับ
ภาษีพร้อมเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท ส. ในวันสุดท้ายของทุกเดือน
4. ในกรณีที่บริษัทฯ เรียกเก็บราคาไม้คลาดเคลื่อนต่ำกว่าราคาที่เป็นจริงที่
ได้ออกใบกำกับภาษีไปแล้ว บริษัทฯ จะทำการเรียกเก็บราคาเพิ่มเติมโดยการออก
ใบกำกับภาษีรวมในวันสิ้นเดือนพร้อมกับการเรียกเก็บเงินเพิ่มพิเศษในข้อ 3 แทน
การออกใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. เงินเพิ่มพิเศษที่บริษัทฯ ได้รับเป็นรายรับที่จะต้องเรียกเก็บ
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และเงินดังกล่าวถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) หรือมาตรา
40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีที่บริษัทฯ ออกใบกำกับภาษีเพื่อเรียกเก็บราคาเพิ่มเติม เนื่องจาก
คำนวณราคาสินค้าผิดพลาดต่ำกว่าที่เป็นจริง แทนการออกใบเพิ่มหนี้ โดยที่
บริษัทฯ ได้นำส่งภาษีขายตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ไปแล้ว
นั้น บริษัทฯ จะต้องรับผิดในกรณีใด หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. เงินเพิ่มพิเศษที่บริษัทฯ ได้รับจากการจัดหาไม้ส่งให้โรงงานของ
บริษัท ส. ได้เป็นจำนวนเกินกว่าเป้าหมายที่บริษัทผู้รับซื้อกำหนดไว้เข้าลักษณะ
เป็นเงินค่าตอบแทนจากการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึง
ประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เงินเพิ่มพิเศษตามข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการกระทำใด ๆ
อันจะหาประโยชน์อันมีมูลค่า ถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่ง
ประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องออกใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร
3 กรณีบริษัทฯ เรียกเก็บราคาสินค้าที่ขายไปแล้วเพิ่ม เนื่องจากคำนวณ
มูลค่าไม้คลาดเคลื่อนต่ำกว่าราคาที่เป็นจริง ถือเป็นเหตุการณ์ที่ระบุไว้ในมาตรา
82/9 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องออกใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา 86/9 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.80/2542 เรื่อง แนวทาง
ปฏิบัติเกี่ยวกับการออกใบเพิ่มหนี้ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร และใบลด
หนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2542
เลขตู้: 68/33645

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020