เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./8511
วันที่: 14 ตุลาคม 2548
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(8)(ก) มาตรา 77/1(14) และมาตรา 78(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ: บริษัท จ. จำกัด ประกอบกิจการเป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับทองเค
ประดับพลอยและเพชร โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
1. บริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าในต่างประเทศหรือลูกค้าในต่างประเทศเข้า
มาเลือกซื้อสินค้าของบริษัทฯ โดยลูกค้าต่างประเทศได้จ่ายเงินมัดจำบางส่วนหรือชำระ
ค่าสินค้าทั้งหมดให้แก่บริษัทฯ ไว้ล่วงหน้าด้วยบัตรเครดิตเป็นเงินบาท แล้วให้บริษัทฯ
ส่งออกสินค้าโดยผ่านพิธีการศุลกากรและออก Invoice ในนามของบริษัทฯ โดยไม่มีการ
ส่งมอบการครอบครองสินค้าให้กับลูกค้าแต่อย่างใด
2. กรณีลูกค้าในต่างประเทศนำวัตถุดิบพลอยมาจ้างให้บริษัทฯ ทำตัวเรือนเพื่อ
ส่งออกโดยลูกค้าต่างประเทศนำพลอยมอบให้บริษัทฯ เองในประเทศไทย บริษัทฯ จึงไม่มี
ใบกำกับภาษีซื้อพลอยหรือเอกสารนำเข้าพลอยแต่อย่างใด บริษัทฯ มีเพียงเอกสารใบรับ
วัตถุดิบพลอยระหว่างบริษัทฯ กับลูกค้าเท่านั้น
บริษัทฯ จึงหารือว่า กรณีตาม 1. เป็นการส่งออกสินค้าหรือไม่ และกรณีตาม 2.
บริษัทฯ สามารถออก Invoice เพื่อส่งสินค้าออกไปให้ลูกค้าในต่างประเทศเป็นค่าจ้าง
เฉพาะตัวเรือนไม่รวมราคาพลอยได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีลูกค้าในต่างประเทศได้จ่ายเงินมัดจำหรือชำระค่าสินค้าทั้งหมดให้แก่
บริษัทฯ ด้วยบัตรเครดิตไว้ล่วงหน้า และให้บริษัทฯ ดำเนินพิธีการศุลกากรส่งออกสินค้า
ไปต่างประเทศ และออก Invoice ในนามของบริษัทฯ โดยไม่มีการส่งมอบการ
ครอบครองสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาเลือกซื้อสินค้าแต่อย่างใด กรณี
ดังกล่าวถือเป็นการขายสินค้าโดยส่งออกตามมาตรา 77/1(8)(ค) และมาตรา 77/1(14)
แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อชำระอากร
ขาออก วางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออกแล้วแต่กรณีตาม
มาตรา 78(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีลูกค้าในต่างประเทศนำวัตถุดิบพลอยมาจ้างให้บริษัทฯ ทำตัวเรือนเพื่อ
ส่งออกโดยมิได้มีการนำเข้าวัตถุดิบพลอย บริษัทฯ มีเพียงเอกสารใบรับวัตถุดิบพลอย
จึงไม่มีใบกำกับภาษีซื้อพลอยหรือเอกสารนำเข้าพลอย กรณีดังกล่าวหากบริษัทฯ
ส่งออกสินค้าที่รับจ้างผลิตให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศโดยผ่านพิธีการทางศุลกากร ย่อม
ถือเป็นการขายสินค้าโดยการส่งออกตามมาตรา 77/1(8)(ค) และมาตรา 77/1(14) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อชำระอากรขา
ออกวางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออกแล้วแต่กรณีตาม
มาตรา 78(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการออก Invoice เรียกเก็บเงินจาก
ลูกค้าในต่างประเทศเป็นเรื่องของบริษัทฯ ที่จะตกลงกับลูกค้าตามข้อตกลงระหว่าง
คู่สัญญา
เลขตู้: 68/33609

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020