เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./8174
วันที่: 30 กันยายน 2548
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการประกอบกิจการในเขตปลอดอากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(11) มาตรา 79(7) และมาตรา 80/1(6)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ประกอบกิจการโรงงานผลิตสาร ค. และมีปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเป็น
ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากกระบวนการผลิต โดยบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทผลิตและจำหน่ายสาร ค. และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต บริษัทฯ
ได้ขออนุมัติจัดตั้งเขตปลอดอากรเพื่อการอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมจากกรม
ศุลกากร บริษัทฯ จึงขอหารือเกี่ยวกับภาระภาษี กรณีการประกอบกิจการและการ
ให้บริการของผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรดังนี้
1. บริษัทฯ ต้องซื้อไอน้ำจากบริษัทผู้ผลิตไอน้ำซึ่งเป็นผู้ประกอบการในเขตปลอด
อากรเดียวกันกับบริษัทฯ และบริษัทฯ จะต้องให้บริการด้านต่าง ๆ เช่นการ
ให้บริการไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ แก่บริษัทผู้ผลิตไอน้ำด้วย กรณีดังกล่าวบริษัทฯ จะ
ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
2. บริษัทฯ ขายสาร ค.ให้แก่ผู้ประกอบการคลังสินค้าทัณฑ์บน ซึ่ง
ผู้ประกอบการคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรได้ดำเนินพิธีการ
ศุลกากรเพื่อนำของออกจากเขตปลอดอากรแล้ว แม้ว่าการขายสินค้าจะยังไม่ได้
ชำระค่าอากรขาเข้า ณ ขณะที่ดำเนินพิธีการศุลกากร บริษัทฯ ได้รับสิทธิเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
3. บริษัทฯ ขายสาร ค.ให้แก่บริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ
ในเขตปลอดอากรเดียวกันกับบริษัทฯ บริษัทฯ จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน
อัตราร้อยละ 0 หรือไม่
4. บริษัทฯ ขายสาร ค. ให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศดังนี้
4.1 ผู้ประกอบการซึ่งมีสิทธิได้รับยกเว้นอากรและผู้ได้รับการส่งเสริมการ
ลงทุน บริษัทฯ จะต้องนำมูลค่าของสินค้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี
หรือไม่ และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนออกใบกำกับ
ภาษีหรือไม่
4.2 ผู้ประกอบการซึ่งมิได้รับสิทธิยกเว้นอากรใด ๆ และได้ดำเนินพิธีการ
ทางศุลกากรโดยได้ชำระค่าอากรและภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ขณะที่ดำเนินพิธีการ
ศุลกากร บริษัทฯ จะต้องนำมูลค่าของสินค้ามารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี
หรือไม่ และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนออกใบกำกับ
ภาษีหรือไม่
5. กรณีบริษัทฯ ขายสาร ค.และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตผ่านบริษัทจัด
จำหน่ายซึ่งตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร ซึ่งบริษัทจัดจำหน่ายสาร ค.เป็นผู้ประกอบการ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และบริษัทจัดจำหน่ายปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตมิได้เป็น
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีดังกล่าวบริษัทฯ จะต้องเสียภาษี
อย่างไร
5.1 การซื้อขายสาร ค.ระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทจัดจำหน่ายจะได้รับสิทธิ
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 หรือไม่
5.2 การซื้อขายปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ระหว่างบริษัทฯ กับบริษัทจัด
จำหน่ายปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
หรือไม่
5.3 การซื้อขายสาร ค.ระหว่างบริษัทจัดจำหน่ายสาร ค.กับลูกค้า
ภายในประเทศจะได้รับสิทธิไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าดังกล่าวมารวมคำนวณเป็น
มูลค่าของฐานภาษีถูกต้องหรือไม่ และบริษัทจัดจำหน่ายสาร ค.มีหน้าที่ต้องเรียก
เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนออกใบกำกับภาษีหรือไม่
5.4 การซื้อขายปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตระหว่างบริษัทจัดจำหน่ายปุ๋ย
แอมโมเนียมซัลเฟตกับลูกค้าภายในประเทศจะได้รับสิทธิไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้า
ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีถูกต้องหรือไม่ และบริษัทจัด
จำหน่ายสินค้าปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจน
ออกใบกำกับภาษีหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ ซื้อไอน้ำจากบริษัทผู้ผลิตไอน้ำซึ่งเป็นผู้ประกอบการในเขต
ปลอดอากรเดียวกันกับบริษัทฯ และบริษัทฯ ได้ให้บริการด้านไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ
แก่บริษัทผู้ผลิตไอน้ำ การให้บริการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้ “บริการ” ตาม
มาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรา
ร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 (2) แห่งประมวลรัษฎากรเนื่องจากการให้บริการของ
บริษัทฯ มิได้เป็นการให้บริการที่ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างหรือการให้บริการที่ไม่
ก่อให้เกิดสินค้าที่มีรูปร่างแต่ทำให้สินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ตามนัยข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
123) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการ
ให้บริการบางกรณี ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มกราคม
พ.ศ. 2545
2. กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร
ขายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการที่จัดตั้งเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วย
ศุลกากร บริษัทฯ ผู้ขายจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตาม
มาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะการขายสินค้าที่เป็นไปตามข้อ 3 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123)ฯ ลงวันที่ 15
มกราคม พ.ศ. 2545
3. กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร
ขายสินค้าให้แก่บริษัทในเครือเดียวกัน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ใน
เขตปลอดอากรเดียวกัน บริษัทฯ ผู้ขายจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อย
ละ 0 ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะการขายสินค้าที่เป็นไปตาม
ข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการ
บางกรณีตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.
2545
4. กรณีบริษัทฯ ขายสาร ค.ให้แก่ผู้ประกอบการภายในประเทศ ซึ่งเป็นการ
นำสินค้าออกจากเขตปลอดอากรโดยมิใช่เพื่อการส่งออก ถือเป็นการนำเข้าสินค้า
ตามมาตรา 77/1(12) แห่งประมวลรัษฎากร หากผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา
77/1(11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วย
ศุลกากร โดยการนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากรนั้น ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้าได้
วางเงินประกัน หลักประกัน หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันเพื่อเป็นประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม
แทนการชำระภาษี กรณีดังกล่าวค่าตอบแทนจากการขายสาร ค.เข้าลักษณะ
เป็นค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4)
แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้อง
นำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลง
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่ต้องนำค่าตอบแทนที่ได้รับจากการ
ขายสินค้ามารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องออกใบกำกับภาษี
5. กรณีบริษัทฯ ขายสินค้าให้แก่บริษัทจัดจำหน่ายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจด
ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกัน
5.1 กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอด
อากรขายสาร ค.ให้แก่บริษัทจัดจำหน่ายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกัน บริษัทฯ ได้รับ
สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศ
อธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123)ฯ ลงวันที่ 15 มกราคม
พ.ศ. 2545
5.2 กรณีบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร
ขายปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตที่เป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81
(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร หากบริษัทฯ ได้ใช้สิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม
แบบที่อธิบดีกำหนด เพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม
มาตรา 81/3 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทฯ ขายปุ๋ยเอมโมเนียมซัลเฟต
บริษัทฯ ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
5.3 กรณีบริษัทจัดจำหน่ายซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
และประกอบกิจการในเขตปลอดอากรขายสาร ค.ให้แก่ผู้ซื้อในประเทศ หากผู้ซื้อ
เป็นผู้กระทำพิธีการศุลกากรนำเข้าสินค้า ตามมาตรา 77/1(11) แห่งประมวล
รัษฎากร ค่าตอบแทนจากการขายสารคาโปแลคตัมเข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนที่
ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวล
รัษฎากร และข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่ต้องนำ
ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการขายสินค้ามารวมคำนวณเป็นฐานในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ต้องออกใบกำกับภาษี
5.4 กรณีบริษัทผู้จัดจำหน่ายซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกอบกิจการในเขตปลอดอากรขายปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้
ซื้อในประเทศ บริษัทฯ จัดจำหน่ายไม่มีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่
ต้องออกใบกำกับภาษีแต่อย่างใด
เลขตู้: 68/33597

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020