เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./9712 |
วันที่ | : 21 พฤศจิกายน 2548 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการหักกลบลบหนี้เงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 10 ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการหักกลบลบหนี้ |
ข้อหารือ | : 1. บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นคำร้องขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 1.1 วันที่ 4 มีนาคม 2547 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ค.10 เพื่อขอคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือนภาษีเมษายนถึงเดือนภาษีกรกฎาคม เดือนภาษีกันยายน เดือนภาษีพฤศจิกายน 2545 และเดือนภาษีพฤศจิกายน 2546 จำนวนรวม 3,223,199.78 บาท แต่จากการเข้าตรวจปฏิบัติการของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ พบว่า เดือนภาษีกันยายน 2547 บริษัทฯ มีภาษีต้องชำระจำนวน 1,794,162.00 บาท เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือแจ้งการประเมินไปแล้วเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 1.2 วันที่ 14 ตุลาคม 2547สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับหมายอายัด ชั่วคราวจากศาลแรงงานกลางอายัดสิทธิเรียกร้องของบริษัทฯ และวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ได้รับหนังสือจากสำนักงานบังคับคดีจังหวัดแจ้งอายัดเงินคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ จำนวน 958,923.55 บาท 1.3 วันที่ 1 ธันวาคม 2547สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับหนังสือแจ้งการ โอนสิทธิเรียกร้องในเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ เพื่อโอนสิทธิขอรับเงินคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ ไปให้แก่ บริษัท อ. 1.4 วันที่ 10 มกราคม 2548 สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้หักกลบลบหนี้เงิน คืนภาษีมูลค่าเพิ่มกับหนี้ภาษีอากรค้างตามหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าว และได้ นำส่งเงินตามหมายบังคับคดีจำนวน 958,923.55 บาท 1.5 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้รับหนังสือจาก สำนักงานประกันสังคมจังหวัดขอทราบจำนวนเงินคงเหลือของบริษัทฯ โดยอาศัย อำนาจตามมาตรา 80(3) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 |
แนววินิจฉัย | : 1. ประเด็นเรื่องการส่งเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมายบังคับคดี ปรากฏ ข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ มีสิทธิจะได้รับเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากรเป็น จำนวนเงินรวม 3,223,199.78 บาท แต่เนื่องจากก่อนที่กรมสรรพากรจะคืนเงิน จำนวนดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ บริษัทฯ ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำและ โจทก์ในคดีดังกล่าวได้ยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางเพื่อให้มีคำสั่งอายัดสิทธิ เรียกร้องเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ มีต่อกรมสรรพากร และศาลแรงงานกลางฯ ได้ส่งหมายอายัดชั่วคราวถึงสำนักงานสรรพากรพื้นที่แล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547 อันเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 254 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง เมื่อสำนักงานบังคับคดีจังหวัดได้ส่งหนังสือถึงสำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้ง อายัดและให้ส่งเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ จำนวน 958,923.55 บาท ไปยัง สำนักงานบังคับคดีตามจังหวัดหมายบังคับคดีฯ สำนักงานสรรพากรพื้นที่จึงมี หน้าที่ต้องส่งเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนดังกล่าวไปยังสำนักงานบังคับคดีจังหวัด 2. ประเด็นเรื่องการหักกลบลบหนี้ก่อนที่บริษัทฯ จะได้รับเงินคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มตาม 1. บริษัทฯ มีภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ประเมินสำหรับเดือนภาษีกันยายน 2547 เป็นจำนวน 1,794,162.00 บาทและเจ้า พนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังบริษัทฯ ทราบแล้ว ซึ่งหากไม่ มีการอุทธรณ์การประเมินและทุเลาการเสียภาษีอากรแล้วกรณีย่อมถือได้ว่า บริษัทฯ มี หนี้ภาษีอากรค้างและมีหน้าที่ต้องชำระให้แก่กรมสรรพากรแล้ว กรณีบริษัทฯ โอนสิทธิในการขอรับเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท อ. ซึ่งได้ มีการแจ้งโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหนังสือให้แก่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ทราบแล้วเมื่อ วันที่ 1 ธันวาคม 2547 ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แล้ว อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษี กันยายน 2547 ตามหนังสือแจ้งการประเมิน ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2547 จึงถือได้ว่า กรมสรรพากรในฐานะลูกหนี้ของบริษัทฯ มีสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีอากรจาก บริษัทฯ กรมสรรพากรจึงมีสิทธินำสิทธิเรียกร้องในเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ สำหรับเดือนภาษีกันยายน 2547 มาหักกลบลบหนี้ได้ เนื่องจากสิทธิเรียกร้องของ บริษัทฯ ในเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกันยายน 2547 จะได้ถึงกำหนด ชำระและไม่ช้ากว่าเวลาถึงกำหนดแห่งสิทธิเรียกร้องที่ได้โอนไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 308 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น กรมสรรพากรมีสิทธิ นำหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,794,162.00 บาท มาหักกลบลบหนี้กับเงินคืน ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เหลือจำนวน 2,264,276.23 บาทได้ 3. ประเด็นเรื่องการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม สำนักงานสรรพากรพื้นที่จะต้องคืน เงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่เหลือจำนวน 470,114.23 บาท ให้แก่ผู้ขอคืนตามที่กำหนดไว้ ในหมวด 6 ส่วนที่ 2 และ 3 ของระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการคืนเงิน ภาษีมูลค่าเพิ่ม พ.ศ. 2539 4. ประเด็นเรื่องการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเงินคงเหลือ เนื่องจากข้อมูล เกี่ยวกับจำนวนเงินคงเหลือภายหลังการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ มี ลักษณะเป็นข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงาน ของรัฐในส่วนที่เป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเอกชน จึงเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 แต่เนื่องจากการ เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม เข้าลักษณะเป็นการเปิดเผย กิจการของผู้เสียภาษีอากรหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องจึงต้องห้าม มิให้เจ้าพนักงานนำออก แจ้งแก่ผู้ใดหรือยังให้ทราบกันไปโดยวิธีใด เว้นแต่จะมีอำนาจที่จะทำได้โดยชอบ ด้วยกฎหมายตามมาตรา 10 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเมื่อพิจารณามาตรา 80(3) แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แล้วได้ความว่า ในการปฏิบัติการตาม หน้าที่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจทำหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลใดมาให้ ถ้อยคำ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณา บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานของสำนักงานประกันสังคมใน การขอทราบข้อมูลต่าง ๆ ของนายจ้างหรือลูกจ้างจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ใน การปฏิบัติตามหน้าที่อันถือได้ว่า มีอำนาจทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น หาก ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเงินคงเหลือของบริษัทฯ ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด ขอให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่แจ้งให้ทราบ เป็นข้อมูลที่สำนักงานประกันสังคม จังหวัดจำเป็นต้องใช้เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ก็มีอำนาจที่ จะแจ้งข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ ให้แก่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดได้ |
เลขตู้ | : 68/33639 |