เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./9210 |
วันที่ | : 7 พฤศจิกายน 2548 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้เช่าซื้อ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 78(2)(ก) และมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ ได้ขายรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้ซื้อโดยได้ชำระเงินล่วงหน้าเป็นค่ารถ จักรยานยนต์บางส่วน และทำสัญญาเช่าซื้อกำหนดจำนวนเงินผ่อนชำระเป็นงวด ๆ สำหรับเงินส่วนที่เหลือ ต่อมาลูกค้าขอเปลี่ยนเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามราคา ขายเงินสดก่อนถึงกำหนดชำระเงินค่างวดงวดแรก จึงหารือว่า 1. สัญญาเช่าซื้อที่บริษัทฯ จัดทำมีผลทางกฎหมายหรือยังและหากมีผลในทาง กฎหมาย บริษัทฯ จะต้องมีการยกเลิกสัญญาให้เช่าซื้อตามข้อ 2(6) ของคำสั่ง กรมสรรพากร ที่ ป.36/2536ฯ หรือไม่ เพราะบริษัทฯ ยังมิได้รับชำระเงินค่างวด ตามสัญญาเนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดรับชำระเงินค่างวดงวดแรก 2. เมื่อเปลี่ยนการขายมาเป็นขายเสร็จเด็ดขาด ถือว่าการแสดงราคาขายเงินสด ของบริษัทฯ เป็นไปโดยถูกต้องความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้น เมื่อใด ด้วยจำนวนเงินเท่าใด เพราะบริษัทฯ ได้ส่งมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ลูกค้า ตั้งแต่วันที่ลูกค้าชำระราคาสินค้าบางส่วนโดยกรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่ได้โอน แต่ เมื่อเปลี่ยนเป็นขายเสร็จเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในสินค้าจะต้องโอนทันทีกรณีนี้บริษัทฯ ต้องยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับแรก (เงินค่ารถจักรยานยนต์บางส่วน) ซึ่งบริษัทฯ ได้ นำส่งภาษีขายไปแล้วและออกฉบับใหม่โดยแสดงราคาขายเต็มหรือไม่ต้องยกเลิก ใบกำกับภาษีฉบับแรกและออกอีก 1 ฉบับ แสดงเฉพาะราคาสินค้าส่วนที่ยังคง เหลืออยู่และนำส่งภาษีขายเฉพาะส่วนนี้ในการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ บริษัทฯ จะต้องบันทึกรายการตั้งแต่วันที่ออกใบกำกับภาษีฉบับแรกหรือรับชำระ เงินส่วนที่เหลือครบถ้วน |
แนววินิจฉัย | : การที่บริษัทฯ ขายรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้ซื้อโดยผู้ซื้อได้ชำระเงินล่วงหน้าเป็น ค่ารถจักรยานยนต์บางส่วน และทำสัญญาเช่าซื้อกำหนดจำนวนเงินผ่อนชำระเป็น งวด ๆ โดยเงินส่วนที่เหลือ บริษัทฯ จะออกใบกำกับภาษีเมื่อถึงกำหนดชำระราคา ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระราคาแต่ละงวดนั้น เป็นการปฏิบัติชอบด้วยกฎหมายแล้ว สำหรับกรณีผู้ซื้อขอเปลี่ยนเป็นการขายซื้อขายเสร็จเด็ดขาดโดยชำระเงินตามราคา ขายเงินสดและชำระราคารถจักรยานยนต์ก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดแรก เข้า ลักษณะเป็นการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อที่ได้มีการรับชำระราคาสินค้าก่อน ถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่กำหนดตามมาตรา 78(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับมูลค่าสินค้าส่วนที่เหลือจึงเกิดขึ้นเมื่อ ได้มีการรับชำระราคาสินค้า บริษัทฯ ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับ ภาษีสำหรับมูลค่าส่วนที่เหลือที่ได้รับชำระทันทีตามมาตรา 86 แห่งประมวล รัษฎากร จึงไม่มีกรณีต้องยกเลิกสัญญาให้เช่าซื้อหรือใบกำกับภาษีแต่อย่างใด ส่วน การจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบให้ลงรายการตามปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ตามข้อ 9 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 89) เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน การ ลงรายการในรายงานการเก็บใบกำกับภาษีและเอกสารหลักฐานอื่นที่ใช้ประกอบการ ลงรายงานภาษีซื้อตามมาตรา 87 และมาตรา 87/3 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2542 |
เลขตู้ | : 68/33653 |