เลขที่หนังสือ | : กค 0706/9276 |
วันที่ | : 9 พฤศจิกายน 2548 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินค่าสวัสดิการของพนักงาน |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40(1) มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) |
ข้อหารือ | : บริษัท ก. จำกัด มีระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์ อักษรเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการของพนักงาน กล่าวคือ บริษัทฯ มีนโยบายคิดค่า สวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนและทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทดลอง งาน พนักงานรายวันหรือพนักงานรายเดือนที่ยังคงสภาพเป็นพนักงานของ บริษัทฯ ณ วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่างๆ เช่น งานกีฬาสี การจัดงานเลี้ยง เทศกาลปีใหม่ ฯลฯ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง ทั้งนี้ไม่ รวมถึงค่าชุดเครื่องแบบของพนักงาน การคิดเงินสวัสดิการพนักงาน จะคิดให้ ในอัตราคนละ 3,000 บาท พนักงานทั้งสิ้น 257 คน รวมเงินสวัสดิการจำนวน 771,000 บาท (เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) จะถูกจ่ายจากบัญชีของ บริษัทฯ เป็นยอดเดียว และนำเงินทั้งหมดเก็บเข้าไว้ในบัญชี คณะกรรมการ สวัสดิการ โดยบัญชีดังกล่าวจะแยกออกจากบัญชีของบริษัทฯ มีคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากลูกจ้างในบริษัทฯ ตามมาตรา 96 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นผู้ดูแลบัญชีสวัสดิการพนักงาน ดังกล่าวและเป็นผู้ควบคุมเรื่องการเบิกจ่าย มีการทำบัญชีเก็บไว้เป็น หลักฐาน จึงขอหารือว่า 1. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการให้พนักงาน จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของ บริษัทฯ ได้หรือไม่ 2. ค่าสวัสดิการที่ให้กับพนักงานดังกล่าวนั้น จะถือเป็นรายได้ของพนักงาน แต่ละคนซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีคณะกรรมการสวัสดิการ และ คณะกรรมการฯ ได้นำเงินดังกล่าวไปจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสวัสดิการ ให้แก่พนักงาน กรณีจึงเข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มอันถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานผู้ได้รับสวัสดิการดังกล่าวต้องนำประโยชน์ ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่ง ประมวลรัษฎากร เว้นแต่สวัสดิการจัดเลี้ยงในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับจาก การให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวล รัษฎากร 2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานตาม 1. ถือเป็นรายจ่าย เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว หรือการให้โดยเสน่หา บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่ง ประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 68/33665 |