เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/8660
วันที่: 19 ตุลาคม 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการซื้อตั๋วเงิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 48(3)(ก) มาตรา 91/2(5) และมาตรา 91/13 แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ: คณะบุคคลได้นำเงินไปซื้อตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัททั่วไป โดย
ได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และธนาคารพาณิชย์หรือบริษัททั่วไปได้หักภาษี ณ
ที่จ่าย ไว้ในอัตราร้อยละ 15.0 จึงขอทราบว่า การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คณะบุคคลมีสิทธิเลือกถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15.0 โดยไม่ต้องนำมา
รวมคำนวณกับรายได้อื่นตอนสิ้นปีได้หรือไม่ และคณะบุคคลต้องเสียภาษีธุรกิจ
เฉพาะและจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีคณะบุคคลได้รับดอกเบี้ยตั๋วเงินจาก
ธนาคารพาณิชย์หรือบริษัททั่วไป เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คณะบุคคลมีสิทธิ
เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอน
สิ้นปี ตามมาตรา 48(3)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีคณะบุคคลซื้อตั๋วเงินของธนาคารพาณิชย์หรือ
บริษัททั่วไป เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ อยู่
ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง
คณะบุคคลต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตราร้อยละ 3.0 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) จาก
ดอกเบี้ยที่ได้จากการซื้อตั๋วเงิน ตามมาตรา 91/5(5)(ก) และมาตรา 91/6(3) แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยต้องยื่นแบบแสดงรายการพร้อมชำระภาษีตามมาตรา 91/10
แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ การซื้อตั๋วเงินจากธนาคารพาณิชย์หรือบริษัททั่วไปของ
คณะบุคคล ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามมาตรา 91/13 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เรื่อง การกำหนดกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ลง
วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2535 คณะบุคคลจึงต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจ
เฉพาะตามมาตรา 91/12 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33627

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020