เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/8536
วันที่: 14 ตุลาคม 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีโอนหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(4)(ช) และมาตรา 65
ข้อหารือ: นางสาว ร. และพี่น้องถือหุ้นรวมกัน 54% ในบริษัท บ. ซึ่งเป็นบริษัทที่มีหุ้น
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นางสาว ร. และพี่น้องมีความ
ประสงค์จะจัดตั้งบริษัทขึ้นตามกฎหมายไทยเพื่อประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นอย่าง
เดียว (บริษัท ฮ.) ซึ่งจะถือหุ้นจำนวน 54% ของบริษัท บ. นางสาว ร. และพี่น้องจะ
โอนขายหุ้นดังกล่าวที่มีอยู่ไปให้บริษัท ฮ. ในราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท แต่ราคาที่ซื้อ
ขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประมาณ หุ้นละ 250 บาท และบริษัท
ฮ. จะออกหุ้นใหม่ให้แก่นางสาว ร. และพี่น้องเท่ากับราคาพาร์ของหุ้น จำนวน 54%
ในบริษัท บ. จึงมีความเห็นว่า นางสาว ร. และพี่น้องสามารถโอนขายหุ้นในราคา
พาร์หุ้นละ 10 บาท โดยไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(4)(ช)
แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
และการที่บริษัท ฮ. ได้รับโอนหุ้นมา จึงไม่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65
แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: กรณี นางสาว ร. และพี่น้องโอนขายหุ้นในราคาพาร์ หุ้นละ 10 บาท ซึ่งเป็น
ราคาไม่เกินกว่าราคาที่ซื้อหุ้นมา จึงไม่มีผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นซึ่งตีราคา
เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุนไว้ตามมาตรา 40(4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร แม้ราคา
หุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ราคา 250 บาท นางสาว ร.
และพี่น้อง ผู้โอนหุ้นดังกล่าว จึงไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดา
ส่วนกรณีบริษัท ฮ. ซื้อหุ้นมา ยังไม่ถือว่ามีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจาก
กิจการ จึงยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33616

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020